วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รักจริง ต้องใช้เงินเป็น ตอนที่ 1/2

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

คนสองคนรักกัน “ความรัก” นั้นไม่ต้องใช้เงิน แต่หากก่อนแต่งงาน ไม่ได้วางแผนการใช้เงิน นิสัยการใช้เงินของคนรัก อาจเป็นเหตุให้ความรัก ‘ร้าว’ ได้

รักจริง ต้องใช้เงินเป็น ตอนที่ 2/2

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ก่อนตกลงปลงใจร่วมชีวิตกับใคร ผมขอแนะนำว่าจะต้องรู้จักอีกฝ่ายเกี่ยวกับเรื่อง "เงิน" อย่างน้อยใน 2 เรื่องคือ ลักษณะนิสัยการใช้เงินของแต่ละฝ่าย และ การวางแผนการเงินร่วมกันหลังแต่งงานแล้ว ทั้งสองเรื่องนี้จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ของครอบครัวให้ยั่งยืนได้หากมีการเตรียมการที่ดี

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ไมเคิล แมคโคบี นักวิชาการผู้มุ่งมั่นสร้างความรู้ ตอนที่ 1/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ไมเคิล แมคโคบี (Michael Maccoby) นักจิตวิทยาวิเคราะห์ นักมานุษยวิทยา ผู้มีชื่อเสียงระดับโลก ได้รับเชิญให้เป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาภาวะผู้นำในองค์กรระดับโลกหลายแห่ง เจ้าของงานเขียน 12 เล่ม ผู้ก่อตั้ง ผู้บริหาร ที่ปรึกษา สถาบันที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมุนษย์ ใน 26 ประเทศทั่วโลก

ไมเคิล แมคโคบี นักวิชาการผู้มุ่งมั่นสร้างความรู้ ตอนที่ 2/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ชีวิตในฮาร์วาร์ดได้เปิดโอกาสให้ ไมเคิล แมคโคบี ได้พบปะกับบุคคลที่มีชื่อเสียง ทั้งการเรียน การทำงานร่วมกัน และเป็นสิ่งที่จุดประกายความสนใจศึกษาด้านปรัชญา จิตวิทยา และมานุษยวิทยา ซึ่งเขาจบการศึกษาปริญญาตรีด้วยคะแนนเกียรตินิยม ในปี ค.ศ.1945 และในปี ค.ศ.1960 จบปริญญาเอก ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relations) อันเป็นการเรียนการสอนที่ผนวกความรู้ด้านจิตวิทยา บุคลิกภาพและมานุษยวิทยาเข้าด้วยกัน

ไมเคิล แมคโคบี นักวิชาการผู้มุ่งมั่นสร้างความรู้ ตอนที่ 3/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

นอกจากนี้งานวิจัย ด้านการพัฒนาภาวะผู้นำ ในบริษัทยักษ์ใหญ่ชั้นนำ เช่น ฮิวเลตต์ แพค์การ์ด (HP) ไอบีเอ็ม (IBM) และเท็กซัส อินสตรูเม้นท์ส (Texas Instruments) ของเขา ได้กลายมาเป็นหนังสือที่ติดอันดับหนังสือขายดีและได้รับการยอมรับว่า เป็นหนังสือที่ทำให้เข้าใจถึงบุคลิคภาพและภาวะผู้นำในองค์กรธุรกิจได้เป็นอย่างดี

ไมเคิล แมคโคบี นักวิชาการผู้มุ่งมั่นสร้างความรู้ ตอนที่ 4/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

พัฒนาความรู้ มีลักษณะเป็นนักเรียนตลอดชีวิต อันนำไปสู่ การพยายามค้นหาคำตอบต่อข้อสงสัย เช่น หาในหนังสืออ้างอิง ถามผู้รู้ คิดใคร่ครวญหาคำตอบ พิจารณาบริบทที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลและคิดอย่างเป็นระบบ มองหาความเชื่อมโยงของสิ่งต่าง ๆ ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อขยายฐานความรู้ ฐานความคิด และฐานความเข้าใจให้มีความชัดเจน กว้างขวาง ถูกต้องและลึกซึ้งมากขึ้น

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รู้ลึกจนชำนาญพัฒนาสู่ความเชี่ยวชาญ ตอนที่ 1/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

เฮนริอาตา ลีวิตต์ (Henrietta Swan Leavitt) นักดาราศาสตร์หญิงชาวอเมริกัน ผู้สร้างคุณูปการต่อวงการดาราศาสตร์ ค้นพบการคำนวณระยะห่างของดวงดาว จากการกระพริบในยุคที่ยังไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์

รู้ลึกจนชำนาญพัฒนาสู่ความเชี่ยวชาญ ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

การศึกษาของเธอ ส่งผลให้นักดาราศาสตร์สามารถคำนวนหาระยะห่างของดวงดาว โดยคำนวนจากการกระพริบแสง ของดาวแปรแสงเหล่านั้น นับว่ามีประโยชน์มากในยุคที่ยังไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์

รู้ลึกจนชำนาญพัฒนาสู่ความเชี่ยวชาญ ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

คิดสร้างสรรค์ ไม่ติดกรอบความรู้แบบเดิม ไม่ใช้ประสบการณ์เดิมเป็นตัวตัดสินเหตุการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้น แต่ให้พิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและคิดให้ยืดหยุ่นมากที่สุด เช่น หาทางเลือกที่หลากหลาย ทั้งทางเลือกที่ไม่เคยใช้มาก่อน ทางเลือกที่คิดว่าง่าย ทางเลือกที่เคยล้มเหลวมาแล้วในอดีต หรือวิธีการที่ยังไม่มีใครนำมาใช้ เป็นต้น พิจารณาถึงความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ก่อนตัดสินใจเลือกทางเลือกที่คิดว่าเหมาะสมมากที่สุด
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...