วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กรณีรถตู้ สู่ความปลอดภัยบนท้องถนน

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, http://www.kriengsak.com/

การเมาแล้วขับนับเป็นสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งของการเกิดอุบัติภัยบนท้องถนน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ เช่น การขับรถเร็วเกินอัตราที่กำหนด (คิดเป็น 18.83%) การตัดหน้ากระชั้นชิด (คิดเป็น 17.17%) การไม่ให้สัญญาณออก/ซอย/เลี้ยว (คิดเป็น 3.65%) การขับรถผิดช่องทาง (คิดเป็น 2.82%) การฝ่าฝืนป้ายหยุด (คิดเป็น 2.69%) การไม่ขับรถในช่องซ้ายสุด (คิดเป็น 2.46%) การขับรถไม่ชำนาญ (คิดเป็น 1.76%) และไม่ให้รถมีสิทธิไปก่อน (คิดเป็น 1.76%)

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แก้ปัญหายาเสพติดในกรณีไผ่เขียว

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, www.kriengsak.com, www.drdancando.com

ปัจจุบัน ปัญหาคุณธรรมจริยธรรมรุนแรงขึ้นทุกขณะ ไม่ว่าจะเป็นคดีอาชญากรรม การใช้ความรุนแรง ปัญหาครอบครัว ปัญหาทางเพศ ยาเสพติด ฯลฯ ซึ่งมีการนำเสนอตามหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์บ่อยครั้ง ยิ่งปัจจุบัน เด็กเยาวชนไทยเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาคุณธรรมจริยธรรมในฐานะผู้กระทำมาก ขึ้นและไม่มีแนวโน้มจะลดลงแต่อย่างใด

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การคิดนอกกรอบ

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, www.kriengsak.com, www.drdancando.com

          ผมอยากจะเล่าเรื่องผมคนหนึ่งชื่อคุณตัน ตัน โออิชิ นี่แหละครับ ผมกับเค้ารู้จักกันครับ คุณตันเป็นคนที่มีความคิดออกนอกกรอบ และผมอยากจะชมเชยครับ มีอยู่เหตุการ์ณหนึ่งก่อนจะเกิดน้ำท่วม คือ สมัยที่มี ศอฉ.ครับ คุณตันกับผมและเพื่อนพวกเราไม่กี่คนที่เซี่ยงไฮ้ เหตุการณ์บ้านเมืองเกิดวุ่นวายอยู่ตอนเหตุการณ์ ศอฉ.นะครับ พอคุณตันขึ้นเครื่องบินกลับนะครับ และลงเครื่องบินก่อนพวกเรา พอลงเครื่องบินในทันทีคุณตันก็ไปตั้ง ศอช. เพื่อใช้สถานที่ของตัวเองสำหรับคนที่ขายของไม่ได้ ได้ไปขายของ ผมก็คิดชมเชยคุณตันในใจนะครับว่า คุณตันเนี่ย ความคิดสร้างสรรค์เยอะ และรู้จักหาสิ่งที่เป็นสถานการณ์ มาเป็นโอกาส เปลี่ยนคำว่า ศอฉ.ที่คนคุ้นเคยแปลว่า ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เปลี่ยนมาเป็น ศอช. คือ ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือประชาชน ใช้คำเทียบเคียงและเป็นการเล่นคำที่เก่งมาก ไหลอยู่บนแนวคิดที่คนรู้อยู่แล้ว และก็เห็นปัญหาอยู่แล้ว ใช้โอกาสนี้ หักมุมช่วยเหลือประชาชนไปเลย เปิดที่ขายของให้เพราะว่าตัวเองมีที่ว่างอยู่แล้ว ที่นั้นก็จะไม่มีประโยชน์หากยังไม่ได้ใช้อะไร

โรงเรียนสองภาษา

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, www.kriengsak.com, www.drdancando.com

          เรื่องโรงเรียนสองภาษา ถ้าอยากให้คนเรียนภาษาอังกฤษดีท่ามกลางเด็กไทยรุ่นใหม่ต้องทำให้เป็น ธรรมชาติ ธรรมชาติหมายความว่า ทุกอิริยาบถของชีวิตต้องให้เขาเจอภาษาอังกฤษโดยธรรมชาติจะได้ฟัง ได้ยิน ได้สังเกต ได้พูด เช่น ทีวี รายการที่เป็นภาษาอังกฤษจะต้องมีให้เด็กได้ฟังโดยธรรมชาติตั้งแต่เด็กเลย ทั้งการ์ตูนภาษาอังกฤษ ไล่มาถึงการดูทีวีรายการภาษาอังกฤษจะต้องเกิดขึ้น อาจจะมีช่องเป็นช่องเลยหรือกระจายอยู่ตามช่องต่างๆด้วยก็ได้ เมื่อเห็นธรรมชาติของการที่ยอมให้ภาษาอังกฤษเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันแล้ว สิ่งนี้จะช่วยมากขึ้น ทีวี เสียงวิทยุ ป้ายต่างๆตามถนน เอกสารต่างๆ หรือว่าในโรงเรียนจำเป็นอย่างยิ่งต้องเป็นโรงเรียนสองภาษาอย่างเต็มรูปแบบ อย่างที่ผมเสนอมานานมากแล้ว ต้องมีโรงเรียนสองภาษาที่บางวิชาสอนเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ บางวิชาสอนเป็นภาษาไทย แล้วก็โรงเรียนสองภาษากลายเป็นปกติของทุกโรงเรียน แน่นอนแล้วเราจะเอาครูจากไหน ก็ง่ายนิดเดียวครับ เราก็ต้องไปเอาเจ้าของภาษาที่อยู่ในเมืองไทยอยู่แล้วจำนวนหนึ่งมาช่วย แล้วก็ไปเอาจากนอกประเทศมาด้วย มีคนจบปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่เป็นฝรั่งมากมายเลย ที่ยินดีจะให้ 1-2 ปีมาเป็นอาสาสมัครรับเงินเดือนต่ำในประเทศไทย เราต้องตั้งหน่วยงานในการที่จะไปล่าคนเหล่านี้มาเข้าสมัคร แล้วให้ได้ผลลัพธ์ตอบแทนที่ดี กระจายคนเหล่านี้ลงไปตามโรงเรียนต่างๆอย่างเป็นระบบผมคิดว่าถ้าทำอย่างนี้ เมื่อไหร่นะครับ จะทำให้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นสำเร็จง่ายขึ้น มีเรื่องอื่นอีกมาก แต่เอาแค่นี้ก่อนวันนี้ครับ

คนอเมริกาคิดว่าเศรษฐกิจไม่ดีขึ้น

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, www.kriengsak.com, www.drdancando.com

          การที่พรรครีพับลิกันมาครองเสียงข้างมากในสภาคองเกรส หรือสภาผู้แทนราษฎรของอเมริกาจะมีผลต่อการดูแลประเทศของโอบามาแน่ใน 2 ปีหลัง โอบามามาครึ่งเทอมแล้ว และพ่ายแพ้ก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจเป็นหลัก ประชาชนคนอเมริกาคิดว่าเศรษฐกิจไม่ดีขึ้น สิ่งที่ใกล้ตัวก็คือการจ้างงานยังตกงานมาก 10% นี่ถือว่ามาก ดังนั้นคนอเมริกาเองกำลังแค้นโอบามา ที่ไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้เขา โอบามาต้องการความร่วมมืออย่างมากจากสภา

อาเซียนในปี 2015

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, www.kriengsak.com, www.drdancando.com

          อาเซียนปี 2015 จะเป็นประชาคมที่เต็มรูปแบบที่สุดกว่าที่ ผ่านมาตลอด หลายสิบปี เมื่อเกิดแนวคิดเรื่อง Free trade area หรือเขตการค้าเสรี บัดนี้ 2015 จะเป็นโอกาสสำคัญของอาเซียน เพราะอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศซึ่งคนรวมกันแ­ล้วประมาณ 6 ร้อยกว่าล้านคน ก็จะใหญ่พอที่จะเป็นพลังหมู่ที่จะดึงดูดคว­ามสนใจ เช่นทางเศรษฐกิจการลงทุน การค้าเป็นกลุ่ม ดังนั้นประเทศอะไรเดี่ยวๆจะเดินไม่รอดต้อง­อยู่ในกลุ่ม อาเซียนจะปล่อยให้มีการโอนย้ายถ่ายเททุกอย­่างเสรีขึ้นกว่าเก่า เช่น คนก็จะย้ายมาทำงานได้จากทั่วอาเซียนในประเ­ทศต่างๆ วัตถุดิบนี้แน่นอนอยู่แล้ว ส่งออก นำเข้าต่างๆ กดภาษีต่ำจนเป็นศูนย์จำนวนมากมาย คนย้ายเสรี

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความยัดแย้ง 3G และทางแก้

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, www.kriengsak.com, www.drdancando.com

ปัญหา 3G ไม่ใช่ปัญหาเทคนิค ไม่ใช่ปัญหากฎหมาย ไม่ใช่ปัญหาคน
แต่เป็นปัญหาการบริหารจัดการที่แกนนำไม่ได­้มองการไกลล่วงหน้าเพื่อแก้ปัญหาไว้
จึงเกิดปัญหาที่เราเห็นชัดๆว่าเกิดอย่างนี­้ขึ้นครับ...............................­.....

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Not just "Creative Economy," but "Knowledge-Based Economy"

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, www.kriengsak.com

          Recently, I expressed my view on “Creative Economy” which is an important economic policy of this government. Personally, my perspective was to first understand the direction of global social development in terms of seven waves from which the world is now poised for the “Fourth Wave,” a “Knowledge-Based Society,” led by innovators who can maximally utilize their knowledge toward daily living that is both productive and highly innovative. If Thailand wants to develop and benefit from this global development trend, the Thai government will have to ride on “The Fourth Wave,” as a Knowledge-Based Economy (Society), not just as a Creative Economy. 

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Structural Analysis of Social Entrepreneurship in Thailand (1)

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, www.kriengsak.com

          Having written and spoken much in the past on the conceptual and practical aspects of social entrepreneurship, I now find people more interested in this topic, realizing that sole reliance on the government to solve social problems is slow and incomplete.

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ข่าวประชาสัมพันธ์ (Fan club)

          แฟนคลับ ดร.เกรียงศักดิ์ ฝากมาบอกว่า มีโครงการน่าสนใจ ที่ช่วยให้เราสนุก และมีประโยชน์ต่อผู้อื่น {ขอบคุณโครงการดีๆ จาก "กองทุนเวลาเพื่อสังคม"}

Thailand’s Economic Direction in 2010

Prof.Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, www.kriengsak.com

          2010 has begun, and after analysis by many, I will now express my opinion on Thailand’s economy outlook for 2010, as follows.

วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หักลดหย่อนภาษีจากการท่องเที่ยว (Fan club)

          แฟนคลับ ดร.เกรียงศักดิ์ ฝากมาบอกว่า การหักลดหย่อนภาษีจากการท่องเที่ยว ตั้งแต่ช่วง 8 มิ.ย. 53 - 31 ธ.ค. 53 สามารถทำได้ ถ้าไม่ลืมสาระสำคัญดังนี้

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Hope of Friendship

บทความจาก Professor Dr.Kriengsak Chareonwongsak
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, www.kriengsak.com



บทความความหวังสร้างมิตร ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
สนทนากันอย่างไรให้ “สร้างสรรค์ สร้างมิตร ไม่คิดก่อศัตรู”

          บ่อยครั้งที่ปัญหาความ ขัดแย้งในองค์กรมักเกิดขึ้นจาก “การสนทนา” ที่ไม่ลงรอยระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นในระดับผู้บริหารด้วยกันเอง ผู้บริหารกับพนักงาน หรือในระดับพนักงานด้วยกัน โดยปัญหาดังกล่าวอาจส่งผลกระทบทั้งต่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานของ ตนเอง และต่อภาพรวมขององค์กรในแง่ของความร่วมมือร่วมใจกันทำงานเพื่อนำพาองค์กรไป สู่เป้าหมายที่วางไว้ การพูดคุยสนทนาอย่าง “สร้างสรรค์ สร้างมิตร ไม่คิดก่อศัตรู” จึงเป็นทักษะสำคัญที่พนักงานทุกคนในองค์กรควรเรียนรู้และฝึกฝนให้เป็นทักษะ ประจำตัว

เงินทุนจากจีนกำลังไหลมา

บทความจาก Professor Dr.Kriengsak Chareonwongsak
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, www.kriengsak.com

          เมื่อวันที่ 25 – 27 ก.ค. ที่ผ่านมามีการประชุมที่ใหญ่มากระหว่างนักธุรกิจจีนและไทย ที่พัทยา โดยเป็นการร่วมมือระหว่างสมาคมนักธุรกิจของไทย คือ สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน และสมาคมนักธุรกิจของจีน ชื่อ สมาคมนักธุรกิจยอดเยี่ยมเชื้อสายจีนทั่วโลก

วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อุปสรรคความรัก

บทความจาก Professor Dr.Kriengsak Chareonwongsak
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, www.kriengsak.com





ความรักไม่ยั่งยืน
เพราะไม่รู้จักแยกแยะ ระหว่าง "อารมณ์ความรู้สึก" กับ
"ความสมเหตุสมผล" ตามความเป็นจริง


"Some word from the book (ข้อคิดเพื่อรัก) write by professor kriengsak chareonwongsak"

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การชดเชยผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจในกรณีต่างๆ

บทความจาก Professor Dr.Kriengsak Chareonwongsak
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, www.kriengsak.com

          นับตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2553 ที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้เข้ายึดพื้นที่ในบริเวณย่านราชประสงค์ จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 1 เดือนเศษแล้ว การชุมนุมที่บริเวณแยกราชประสงค์นั้นได้ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อ ผู้ประกอบการและแรงงานบริเวณนั้นเป็นอย่างมาก มีการประเมินว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีมูลค่า 5,244 ล้านบาท/เดือน หรือ 174 ล้านบาท/วัน ซึ่งรัฐบาลพยายามดูแลผู้รับผลกระทบโดยการให้เงินชดเชย 3,000 บาท แก่ลูกจ้างที่เงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท 20,000 คน แต่ว่านายกรัฐมนตรีไม่เห็นชอบ เนื่องจากเห็นว่าไม่สามารถช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบได้จริง และขอให้กระทรวงแรงงานกลับไปกำหนดกรอบการช่วยเหลือมาพิจารณากันใหม่อีกครั้ง

Economic and Social Reformation to Overcome Political Crisis

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, www.kriengsak.com


          In June 2010, Capital Market Academy (CMA) hosted a seminar on the topic of, “Thailand Turning Point: Economic and Social Reformation Strategies to Overcome Political Crisis.” I was called to moderate this CMA seminar event between student representatives from CMA’s 1st – 10th Class Top Executive Programme, who were all there to express their views.

A Stakeholders’ Matrix for National Reformation

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, www.kriengsak.com

          On June 10th, Prime Minister HE Mr Abhisit Vejjajiva, officially advanced Thailand’s National Reformation Plan by appointing Former Prime Minister Anand Panyarachun to lead the Assembly for the Adoption of Strategies for National Reform, with Professor Dr Prawase Wasi leading the Citizens’ Assembly for National Reform. However, before the National Reformation Plan swings underway in January 2011, opinions from stakeholders nationwide are being gathered to solve the nation’s problems. I also have suggestions for the composition of these two Assemblies in order to make long term maximization of the National Reformation Plan for all Thais.

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Meeting parent in Harvard

Prof.Kriengsak Chareonwongsak
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, www.kriengsak.com

          การจัดกิจกรรมวันหยุดสุดสัปดาห์สำหรับผู้ปกครองของนักศึกษาปี 1 (Freshman Parents weekend) เป็นประเพณีที่ฮาร์วาร์ดได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลัก เพื่อทำให้เกิดการเชื่อมโยงประสบการณ์ร่วมกันระหว่างผู้ปกครองกับนักศึกษา ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้ปกครองของนักศึกษาเหล่านี้ ได้เข้าใจในสภาพบริบทการเรียนการสอนและได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตการเป็นนักศึกษาฮาร์วาร์ดมากขึ้น โดยฮาร์วาร์ดคาดหวังเป็นอย่างมากว่ากิจกรรมที่จัดขึ้นนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวและการพูดคุยกันระหว่างมหาวิทยาลัยและผู้ปกครองกับนักศึกษา

The Budget Allocation for 2011

Prof.Kriengsak Chareonwongsak
kriengsak@kriengsak.com, www.kriengsak.com

          Not so long ago, the prime minister announced to parliament that the annual government expenditure for 2011 would be 2.07 trillion baht with a budget deficit of 420,000 million baht or 4.1 percent of GDP. The 2011 annual budget has increased by 370,000 million baht (21.8 percent) of 2010’s annual budget. After this announcement, the opposition party debated the opinion that many facets should be investigated in the government’s allocation of the 2011 budget.

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปฏิรูประบบห้องสมุดฮาร์วาร์ด ตอนที่ 1/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ห้องสมุดแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้รับการยอมรับว่าเป็นห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพและใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำหน้าที่สนับสนุนงานทางด้านวิชาการของคณาจารย์ พนักงานและนักศึกษาในมหาวิทยาลัย แต่ยังเป็นเสมือนคลังสติปัญญาที่นักวิจัยและนักวิชาการทั่วโลกต่างหลั่งไหลเข้าใช้บริการ

ปฏิรูประบบห้องสมุดฮาร์วาร์ด ตอนที่ 2/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ปัจจุบัน ระบบบริหารจัดการภายในของห้องสมุดยังมีความล้าสมัย ใช้วิธีการบริหารจัดการแบบกระจายอำนาจ โดยให้ห้องสมุดแต่ละแห่งบริหารจัดการตนเอง มีระบบโครงสร้างการบริหารและกระบวนการตัดสินใจซับซ้อน ขาดความคล่องตัว รูปแบบการบริหารจัดการทางการเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนางานทางด้านวิชาการ รวมทั้งไม่สามารถตอบสนองต่อทิศทางนโยบายการทำงานร่วมกัน และความท้าทายทางด้านสติปัญญาในศตวรรษที่ 21 ได้

ปฏิรูประบบห้องสมุดฮาร์วาร์ด ตอนที่ 3/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

การปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการทางการเงิน ปัจจุบันระบบการบริหารจัดการทางด้านการเงินของห้องสมุดเกี่ยวกับการซื้อวัสดุอุปกรณ์และการให้บริการ ยังเป็นอุปสรรคต่อการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้น มหาวิทยาลัยจึงควรจัดให้มีการประเมินระบบการบริหารจัดการทางการเงินเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ สถานที่ และการให้บริการของห้องสมุดใหม่ โดยเริ่มต้นจากการประเมินระบบการบริหารจัดการทางด้านการเงินของ Harvard Depository ก่อน การเริ่มต้นปรับปรุงที่สถานที่เก็บวัสดุอุปกรณ์นี้ จะทำให้ได้รูปแบบผลลัพธ์ที่เป็นต้นแบบ ซึ่งอาจขยายสู่ความร่วมมือในลักษณะอื่น ๆ ได้

ปฏิรูประบบห้องสมุดฮาร์วาร์ด ตอนที่ 4/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ประยุกต์สู่ประเทศไทย
ห้องสมุดหรือสถาบันวิทยบริการของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ นับเป็นหัวใจสำคัญในการค้นคว้าวิจัยที่สำคัญและการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในระดับการอุดมศึกษาและระดับประเทศ ผมเชื่อว่า “คนจะเก่ง รู้ลึก รู้กว้าง และรู้ไกลได้ จะมาจากการค้นคว้าเพิ่มเติม การเรียนรู้ในชั้นเรียนไม่เพียงพอ”

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยชั้นนำด้านความยั่งยืน ตอนที่ 1/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ผลจากการสำรวจของเว็บไซต์ The College Sustainability Report Card ซึ่งได้ทำการสำรวจมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดาจำนวน 332 สถาบันในมิติด้านความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ทำการสำรวจติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 สำหรับในปี ค.ศ.2009 ฮาร์วาร์ดได้รับการประเมินให้มีคะแนนรวมอยู่ในระดับ A- ซึ่งจากจำนวนสถาบันที่ทำการสำรวจทั้งหมด มีเพียง 26 สถาบันเท่านั้นที่ได้รับคะแนนรวมในระดับดังกล่าวนี้

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยชั้นนำด้านความยั่งยืน ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและพลังงาน พิจารณาจากการตั้งเป้าหมายที่จะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 30 ภายในปี ค.ศ. 2016 ซึ่งฮาร์วาร์ดให้การสนับสนุนและผลักดันให้เกิดโครงการทางด้านการอนุรักษ์และพัฒนามากกว่า 12 โครงการด้วยกัน รวมทั้งยังให้การสนับสนุนเงินทุนกู้ยืมสำหรับทำโครงการดังกล่าวเหล่านี้ หรือที่เรียกว่า เงินทุนกู้ยืมสู่วิทยาลัยสีเขียว (Green Campus Loan Fund) ให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบอีกด้วย นอกจากนั้น ฮาร์วาร์ดยังได้มีการติดตั้งแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์จำนวนทั้งหมด 4 แผง แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้สำหรับทำน้ำร้อนอีกจำนวน 3 แผง และติดตั้ง rooftop wind เมื่อไม่นานมานี้

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยชั้นนำด้านความยั่งยืน ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

กระแสการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย มีการตื่นตัวมากขึ้น เนื่องด้วยสภาพความจำกัดและความเสื่อมโทรมทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการเปิดเสรีทางการค้าที่มีประเด็นด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง ส่งผลให้ประเทศไทยจำเป็นต้องดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พัฒนาจิตสาธารณะด้วยงานบริการสังคมแบบฮาร์วาร์ด ตอนที่ 1/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ฮาร์วาร์ดให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษา คณาจารย์ และพนักงานในมหาวิทยาลัยผ่านช่องทางต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยได้พยายามสอดแทรกและเชื่อมโยงเรื่องการบริการสังคมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน การทำวิจัย การพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาในระดับนโยบาย ตลอดจนการจัดให้มีบริการชุมชนและสังคมโดยตรง และการจัดกิจกรรมพิเศษประจำปีอื่น ๆ

พัฒนาจิตสาธารณะด้วยงานบริการสังคมแบบฮาร์วาร์ด ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

จัดกิจกรรมบริการสังคมต่อเนื่องตลอดปี ผ่านการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ชื่อว่า Phillips Brooks House Association หรือ PBHA ซึ่งเป็นองค์กรที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาฮาร์วาร์ด ได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครทำงานเพื่อสังคมตามประเด็นที่ตนเองสนใจในบริเวณพื้นที่ Greater Boston แต่ละปีจะมีอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมที่องค์กรดังกล่าวนี้จัดขึ้นมากกว่า 1,600 คน ตลอด 70 โครงการ อาทิ โครงการศึกษาผู้ใหญ่ โครงการทางด้านสุขภาพ โครงการผู้สูงอายุ ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาค่านิยมจิตสาธารณะ รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยเหล่านี้ไปในตัวอีกด้วย

พัฒนาจิตสาธารณะด้วยงานบริการสังคมแบบฮาร์วาร์ด ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ควรมีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาได้แสดงออกในการทำดีในการทำเพื่อผู้อื่นหรือสังคม เนื่องด้วยวัยนี้ เป็นวัยที่พร้อมจะแสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความเป็นตัวของตัวเอง อีกทั้งมหาวิทยาลัยเองนับเป็นแหล่งที่มีความพร้อมในการจัดกิจกรรม และเป็นที่รวมตัวของผู้เรียนที่มีการศึกษาในระดับสูง การจัดระบบการให้ผู้เรียนได้แสดงออกในลักษณะของการมีจิตสาธารณะจึงเป็นประเด็นที่มหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญ และให้การสนับสนุน

วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ด เร่งคลอด ป. เอก สร้างผู้นำทางการศึกษา ตอนที่ 1/2

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยที่มีส่วนบ่มเพาะในการสร้างผู้นำและบุคคลสำคัญของโลก มาเป็นระยะเวลายาวนานหลายร้อยปี ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวเป็นผลมาจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ซึ่งต้องการพัฒนาให้ฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างผู้นำ และมีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโลกด้านต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง

ฮาร์วาร์ด เร่งคลอด ป. เอก สร้างผู้นำทางการศึกษา ตอนที่ 2/2

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

เชื่อมโยงองค์ความรู้เข้ากับการปฏิบัติจริง หลักสูตรนี้กำหนดให้นักศึกษาจะต้องเข้าไปเรียนรู้ระยะยาวร่วมกับองค์กรหุ้นส่วนที่ดำเนินการทางด้านการศึกษาตามที่พวกเขาสนใจ ซึ่งสามารถช่วยฝึกอบรมพวกเขาได้โดยตรง และเป็นองค์กรเดียวกับที่นักศึกษาเหล่านี้จะต้องทำโครงการเพื่อจบการศึกษา

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

ฮาร์วารดนัดพบผู้ปกครองของนักศึกษาชั้นปีแรก ตอนที่ 1/2

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

การจัดกิจกรรมวันหยุดสุดสัปดาห์สำหรับผู้ปกครองของนักศึกษาปี 1 (Freshman Parents weekend) เป็นประเพณีที่ฮาร์วาร์ดได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลัก เพื่อทำให้เกิดการเชื่อมโยงประสบการณ์ร่วมกันระหว่างผู้ปกครองกับนักศึกษา ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้ปกครองของนักศึกษาเหล่านี้ ได้เข้าใจในสภาพบริบทการเรียนการสอนและได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตการเป็นนักศึกษาฮาร์วาร์ดมากขึ้น โดยฮาร์วาร์ดคาดหวังเป็นอย่างมากว่ากิจกรรมที่จัดขึ้นนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวและการพูดคุยกันระหว่างมหาวิทยาลัยและผู้ปกครองกับนักศึกษา

ฮาร์วารดนัดพบผู้ปกครองของนักศึกษาชั้นปีแรก ตอนที่ 2/2

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

เข้าร่วมประชุมการใช้ชีวิตในรั้วฮาร์วาร์ด ซึ่งการประชุมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวและการเตรียมตัวของผู้ปกครอง ตลอดจนนักศึกษาที่เข้าร่วม อันได้แก่ โครงการที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาทั่วไป ความแตกต่างหลากหลายของชั้นเรียนใหม่ ผลกระทบจากวิกฤตทางการเงิน และชีวิตชุมชนฮาร์วาร์ด ส่วนหนึ่งเพื่อช่วยให้ผู้ปกครองของนักศึกษาปี 1 ได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยและการใช้ชีวิตในชุมชนแห่งนี้ ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ดกวดวิชานักเรียนมัธยมศึกษา ตอนที่ 1/2

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

โครงการกวดวิชาภาคฤดูร้อน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างเมืองเคมบริดจ์และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Cambridge Harvard Summer Academy : CHSA) เปิดดำเนินการมากกว่า 9 ปีแล้ว โดยให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย เข้าร่วมกวดวิชาเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ไม่ว่าจะเป็น วิชาคณิตศาสตร์ วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ชีววิทยา ฟิสิกส์ หรือ เคมี ซึ่งในทุก ๆ ปีจะมีนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วเมืองเคมบริดจ์เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ปีนี้ก็เช่นเดียวกันมีนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าวนี้มากถึง 300 คน

ฮาร์วาร์ดกวดวิชานักเรียนมัธยมศึกษา ตอนที่ 2/2

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับธรรมชาติและความสนใจของกลุ่มนักเรียน
นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ต่างแสดงความพอใจต่อการเรียนการสอน เนื่องจากไม่เพียงได้ใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอมอย่างมีประโยชน์ และยังได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยได้รับจากในห้องเรียน เพราะผู้สอนเองมีวิธีการที่ช่วยให้นักเรียนทำความเข้าใจกับบทเรียน โดยการเชื่อมโยงสิ่งรอบตัวมาอธิบายให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ตลอดระยะเวลา 6 สัปดาห์

บ้านชาวนาในญี่ปุ่น (Fan club)

แฟนคลับ ดร.เกรียงศักดิ์ ฝากภาพสวยๆ เป็นภาพความสวยงามของบ้านชาวนาในญี่ปุ่น และเป็นกำลังใจให้กับทุกๆ คน {ขอบคุณข้อมูลจาก "Fw.Mail"}

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ดผู้นำหลักสูตรการศึกษากลุ่มวัยเกษียณอายุ ตอนที่ 1/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ฮาร์วาร์ดตระหนักถึงและความสำคัญต่อการจัดการศึกษาสำหรับทุกกลุ่มคนรวมถึงผู้สูงอายุ โดยเป็นผู้นำจัดหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตมายาวนานกว่า 32 ปี ซึ่งความพยายามดังกล่าวนี้เริ่มต้น จากวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ที่ต้องการให้ฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถตอบสนองความต้องการของทุกกลุ่มคนได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยเกษียณอายุ ซึ่งเป็นผู้มีคุณค่าและเป็นคลังสติปัญญาของสังคม

ฮาร์วาร์ดผู้นำหลักสูตรการศึกษากลุ่มวัยเกษียณอายุ ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

การจัดการเรียนการสอนแบบแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกัน สำหรับที่นี่องค์ความรู้จากการสอน มิได้ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกของสถาบันแห่งนี้ เนื่องด้วยทางสถาบันฯ จะมีวิธีการเรียนการสอนแบบเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มและการเรียนรู้ ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน โดยที่สมาชิกสามารถคิดวางแผนออกแบบหลักสูตรและกำหนดประเด็นการศึกษาได้ด้วยตนเอง ฉะนั้น การเรียนการสอนเกือบทั้งหมดของสถาบันแห่งนี้ จึงมักจะจัดให้อยู่ในรูปแบบของการสัมมนา และการอภิปรายแลกเปลี่ยนกันระหว่างสมาชิก โดยไม่มีการสอบ ไม่มีการทำการบ้าน และไม่มีการให้เกรด

ฮาร์วาร์ดผู้นำหลักสูตรการศึกษากลุ่มวัยเกษียณอายุ ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาไม่สูงมากนัก โดยสมาชิกแต่ละคนจะมีค่าใช้จ่ายเฉพาะที่เป็นค่าลงทะเบียนจำนวน 400 ดอลล่าห์ต่อภาคการศึกษาเท่านั้น และจะไม่มีการเก็บค่าสมาชิกหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ แต่ผู้เรียนออกค่าใช้จ่ายเองในการศึกษานอกสถานที่

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ดร่วมกับชุมชนพร้อมรับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ตอนที่ 1/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

กระแสการเปลี่ยนแปลงและสภาวะวิกฤตต่าง ๆ โดยโลกต้องเผชิญกับความท้าทายและปัญหาใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาผู้บริหารระดับสูงของฮาร์วาร์ด ได้ตระหนักถึงความสำคัญ โดยออกมาแสดงวิสัยทัศน์และจุดยืนที่ชัดเจนในการท้าทาย ให้ประชาคมฮาร์วาร์ดปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือในการเผชิญกับภาวะวิกฤตต่าง ๆ ด้วยการนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากมหาวิทยาลัย ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และสนับสนุนให้ประชาคมฮาร์วาร์ด เข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมส่วนรวม โดยผลักดันให้ฮาร์วาร์ดเป็นผู้นำที่ยืนอยู่บนยอดคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงและพร้อมรับอนาคตได้อย่างเท่าทัน

ฮาร์วาร์ดร่วมกับชุมชนพร้อมรับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติต่าง ๆ ในบริเวณพื้นที่เมืองนิวออร์ลีนส์ ความห่วงใยต่อสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าว เป็นตัวจุดประกายและผลักดันให้คณะวิจัยจากวิทยาลัยเคนเนดี้แห่งฮาร์วาร์ด จัดทำโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติต่าง ๆ ในบริเวณพื้นที่เมืองนิวออร์ลีนส์ ในมลรัฐหลุยส์เซียน่า เพื่อเป็นกรณีศึกษา โดยเป็นโครงการศึกษาต่อเนื่องระยะยาว ซึ่งภายในปีนี้ วิทยาลัยเคนเนดี้แห่งฮาร์วาร์ด จะเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนที่ชื่อว่า “Disaster Recovery Management and Urban Development: Rebuilding New Orleans” โดยยืนอยู่บนพื้นฐานประสบการณ์ของพื้นที่เมืองนิวร์ออลีนส์ ที่ประสบภัยพิบัติจากพายุเฮอริเคนแคทรีนาพัดถล่ม เมื่อปลายปี พ.ศ.2548 จนได้รับความเสียหายอย่างหนัก พื้นที่ประมาณร้อยละ 80 ของเมือง ถูกน้ำท่วมขังอยู่ในภาวะจมอยู่ใต้น้ำ ก่อความเสียหายอย่างรุนแรงแก่อาคารบ้านเรือนและฐานขุดเจาะน้ำมัน โดยได้คร่าชีวิตคน 1,500 คน และสร้างความเสียหายแก่เมืองนี้ 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ฮาร์วาร์ดร่วมกับชุมชนพร้อมรับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

เป็นโครงการที่มุ่งให้เกิดผลในภาคปฏิบัติ โดยสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริง มีการเชื่อมโยงกันระหว่างองค์ความรู้ที่มีอยู่กับการทำงานในภาคปฏิบัติ ส่วนหนึ่งก็เพื่อแก้ไขปัญหาองค์ความรู้แบบหอคอยงาช้าง ที่มีแต่องค์ความรู้หรือมีคุณค่าในเชิงทฤษฎี แต่ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงในภาคปฏิบัติ

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ด พัฒนาสู่มหาวิทยาลัยที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ตอนที่ 1/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com


ท่ามกลางสภาพวิกฤตทางเศรษฐกิจ วิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม การต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อโรค การปฏิรูปการศึกษา การเผชิญกับข้อบังคับทางการเงินใหม่ ๆ ในอนาคต ความขัดแย้งระหว่างประเทศ รวมถึงวิกฤตด้านคุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ ที่กำลังเกิดขึ้นและส่งผลกระทบไปทั่วโลกอยู่ในขณะนี้

ฮาร์วาร์ด พัฒนาสู่มหาวิทยาลัยที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ตอนที่ 2/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ผู้บริหารระดับสูงของฮาร์วาร์ด ได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาให้ฮาร์วาร์ดก้าวไปสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต” โดยตั้งอยู่บนรากฐานสำคัญของการพัฒนาความรู้ สติปัญญาและการเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวสู่สาธารณะชน

ฮาร์วาร์ด พัฒนาสู่มหาวิทยาลัยที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ตอนที่ 3/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ดังนั้น ฮาร์วาร์ดจึงแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อพร้อมรับสภาพความจำกัดทางทรัพยากร โดยที่ผ่านมาฮาร์วาร์ดดำเนินการผลักดัน ให้มีการทำงานข้ามคณะและประสานการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น สเต็มเซลล์ พันธุวิศวกรรมศาสตร์ ประสาทวิทยาศาสตร์ และชีววิศวกรรม เป็นต้น

ฮาร์วาร์ด พัฒนาสู่มหาวิทยาลัยที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ตอนที่ 4/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

นอกจากนั้น ฮาร์วาร์ดยังมุ่งมั่นปลูกฝังและพัฒนานักศึกษา ให้มีคุณธรรมและจริยธรรม ด้วยการสอดแทรกการสอนประเด็นคุณธรรมจริยธรรม เข้าไปเป็นสาระหลักของโปรแกรมการสอนในคณะต่าง ๆ ที่มุ่งพัฒนานักศึกษาที่จะจบออกไป มิได้มองเพียงแต่เฉพาะการสามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ ในสภาพวิกฤตเศรษฐกิจเท่านั้น แต่เป็นการปลูกฝังนักศึกษา ให้มีจิตสำนึกรับผิดชอบ ทั้งด้านการประกอบธุรกิจ และการเป็นผู้นำอย่างเป็นมืออาชีพ และมีคุณธรรมจริยธรรมร่วมด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ด ตัวแบบมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับสากล ตอนที่ 1/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยชั้นนำ อันดับ 1 ของโลก ติดกัน 4 ปีซ้อน มีการพัฒนาการจัดการศึกษาและการวิจัยที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก โดยการจัดเรียนการสอนและทำวิจัยของฮาร์วาร์ด ได้ก้าวข้ามพรมแดนทางด้านภูมิศาสตร์ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกของชุมชนฮาร์วาร์ด ขยายตัวไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอน การทำวิจัย การจัดกิจกรรมนอกหลักสูตร โครงการท่องเที่ยว โครงการแลกเปลี่ยน การจัดตั้งสมาคมศิษย์เก่าและสำนักงานต่าง ๆ ซึ่งในขณะเดียวกัน มีการเพิ่มจำนวนขึ้นของนักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนในฮาร์วาร์ดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งฮาร์วาร์ดมีลักษณะความเป็นมหาวิทยาลัยในระดับสากลชัดเจน ผ่านรูปแบบการดำเนินงานหรือการจัดกิจกรรมประเภทต่าง ๆ ที่ขยายไปทั่วโลก อาทิ

ฮาร์วาร์ด ตัวแบบมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับสากล ตอนที่ 2/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

นอกจากนี้แล้ว ฮาร์วาร์ดยังมีศูนย์วิจัยและวิทยาลัยต่าง ๆ ตั้งอยู่ใน 10 ประเทศทั่วโลก อาทิ ญี่ปุ่น รัสเซีย บราซิล เฉพาะในช่วงปี ค.ศ.2007 ถึง 2008 ที่ผ่านมา มีนักศึกษาจากวิทยาลัยฮาร์วาร์ดจำนวนมากถึง 1,372 คน เดินทางไปศึกษา ทำการวิจัย เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนและอื่น ๆ ใน 93 ประเทศทั่วโลก ขณะเดียวกันในฮาร์วาร์ดเอง ได้จัดให้มีหลักสูตรการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมนอกหลักสูตร และการทำวิจัยในประเด็นที่เป็นกระแสหรือกำลังเป็นที่สนใจระดับโลกอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดตั้งศูนย์หรือสำนักงาน เพื่อดำเนินการศึกษาในประเด็นเหล่านี้อย่างเป็นระบบ

ฮาร์วาร์ด ตัวแบบมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับสากล ตอนที่ 3/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

นอกจากนี้ ฮาร์วาร์ดยังมีองค์กรนักศึกษาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากถึง 100 องค์กร ซึ่งองค์กรเหล่านี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่นักศึกษาต่างชาติ ตลอดจนนักศึกษาที่มีความสนใจที่จะไปเรียน ทำงาน หรือเป็นอาสาสมัครในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

ฮาร์วาร์ด ตัวแบบมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับสากล ตอนที่ 4/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ประยุกต์สู่มหาวิทยาลัยไทย
ผมได้เสนอประเด็นการนำ “มหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก” ไว้เมื่อ 10 ปี ที่แล้ว ตั้งแต่ช่วงเริ่มปฏิรูปการศึกษาเมื่อ พ.ศ.2542 ซึ่งในช่วงเวลานั้น มีหลายคนไม่เห็นด้วยแนวคิดนี้ และให้ความเห็นว่าเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ แต่ผมยังยืนยันและพูดเรื่องนี้ พร้อมนำเสนอแนวทางในหลายเวที จนถึงปัจจุบัน

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ดสแควร์ ตอนที่ 1/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

บทความนี้ เป็นการนำเสนอสถานที่หนึ่งที่ตั้งอยู่ตรงข้ามกับลานฮาร์วาร์ด(Harvard yard)มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลหรือเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการจะเดินทางไปศึกษาต่อหรือปฏิบัติภารกิจที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด นั่นคือ ฮาร์วาร์ดสแควร์” (Harvard Square) ซึ่งเป็นสถานที่เก่าแก่ที่มีคุณค่าทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การศึกษา และสังคม

ฮาร์วาร์ดสแควร์ ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ประกอบกับ สภาพทางภูมิศาสตร์ของ ฮาร์วาร์ดสแควร์ ที่เป็นลานสามเหลี่ยมขนาดใหญ่อันเกิดมาจากการบรรจบกันของถนนสายหลัก 3 สายในใจกลางเมืองเคมบริดจ์ และอยู่ตรงข้ามกับลานฮาร์วาร์ดของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ส่งผลให้ฮาร์วาร์ดสแควร์กลายเป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญหรือเป็นทำเลทองที่ดึงดูดนักลงทุนจากทุกสารทิศให้มาลงทุนในบริเวณดังกล่าวนี้ สำหรับแหล่งเรียนรู้ แหล่งกิจการร้านค้าหรือกิจกรรม

ฮาร์วาร์ดสแควร์ ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

แหล่งภัตตาคารและร้านอาหาร ฮาร์วาร์ดสแควร์นับได้เป็นศูนย์รวมของภัตตาคารและร้านอาหารที่มีความหลากหลายมากที่สุดแห่งหนึ่งของเมือง ที่นี่มีภัตตาคารและร้านอาหารประเภทต่างๆ ให้เลือกมากกว่า 90 แห่ง ทั้งที่เป็นคลับ ผับ บาร์ ภัตตาคารและร้านอาหารอเมริกัน อิตาลี ฝรั่งเศส เมดิเตอร์เรเนียน แม็กซิกัน ตะวันออกกลาง อินเดีย และเอเชีย เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ด ตัวแบบ "งานวิจัยเชิงพาณิชย์" ตอนที่ 1/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านวิจัย มีการผลิตและพัฒนานวัตกรรมงานวิจัยจำนวนมาก ที่มีคุณภาพเป็นอันดับต้นของโลก สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และสร้างรายได้มหาศาลสู่ฮาร์วาร์ด ทั้งนี้เพราะฮาร์วาร์ดมีบรรยากาศสร้างผลงานวิจัย ซึ่งทั้งครูและศิษย์ต่างได้รับแรงกระตุ้นให้แข่งขันความเก่งด้วยงานวิจัย ส่งผลให้มหาวิทยาลัยโดดเด่นทางวิชาการ มีผลงานรับรองคุณภาพจำนวนไม่น้อย เห็นได้จากบุคลากรของมหาวิทยาลัยที่ได้รับรางวัลโนเบล 75 รางวัล รางวัลพูลิตเซอร์ 15 รางวัล

ฮาร์วาร์ด ตัวแบบ "งานวิจัยเชิงพาณิชย์" ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

OTD มีระบบให้บริการเบ็ดเสร็จจุดเดียวที่มีความสะดวก ดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพ มีแนวทางให้บริการอยู่บนฐานแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ การพาณิชย์ กฎหมาย และมุ่งสู่การแก้โจทย์ที่มุ่งให้ “ทุกฝ่ายต่างชนะ” หรือที่เรียกว่า “win-win” ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักในการสร้างความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมการวิจัยคือ กลุ่มบุคลากรของฮาร์วาร์ดหรือผู้ประดิษฐ์คิดค้นงานวิจัย กลุ่มภาคอุตสาหกรรม และผู้ลงทุนหรือผู้ที่ให้ทุนวิจัย

ฮาร์วาร์ด ตัวแบบ "งานวิจัยเชิงพาณิชย์" ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ปัจจัยแรก กลไกขับเคลื่อนสำคัญในระยะแรก คือ รัฐบาลควรมีมาตรการสนับสนุนหรือมาตรการกระตุ้นภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรม ให้สนับสนุนทุนหรือทำวิจัยเชิงพาณิชย์ร่วมกับมหาวิทยาลัย

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ด... ตัวแบบมหาวิทยาลัยสีเขียว ตอนที่ 1/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ภาวะวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากทุกภาคส่วนทั้งภาคประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ และขยายวงกว้างในขั้นวิกฤตในทุกประเภทของทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก เนื่องด้วยเป็นปัญหาใกล้ตัว มีผลกระทบโดยตรงต่ออุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้น ลดความหลากหลายทางชีวภาพ การผลิตอาหาร อีกทั้งส่งผลต่อสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ลดลงของคนในสังคม

ฮาร์วาร์ด... ตัวแบบมหาวิทยาลัยสีเขียว ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ลดปริมาณจำนวนขยะในฮาร์วาร์ด ด้วยการใช้ระบบคัดแยกขยะและการนำกลับมาใช้ใหม่ อาทิ การใช้กระดาษรีไซด์เคิลสำหรับพิมพ์งานหรือถ่ายเอกสารในห้องสมุด การแยกขยะเปียก เพื่อเตรียมเข้าสู่กระบวนการย่อยสลายต่อไป การรับบริจาคหนังสือเก่าที่ไม่ใช้แล้ว การลดปริมาณการใช้ขวดน้ำพลาสติก ด้วยการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพระบบการกรองน้ำในมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพสูง ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกในเรื่องดังกล่าวนี้ ให้เกิดขึ้นในรายบุคคลอย่างต่อเนื่องและดำเนินการอย่างจริงจัง

ฮาร์วาร์ด... ตัวแบบมหาวิทยาลัยสีเขียว ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ดังตัวย่างข้างต้นนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกิจกรรมและโครงการฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวในการมีส่วนช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมหาวิทยาลัยไทยเอง ควรให้ความสำคัญในประเด็นรักษาและพัฒนาสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน เพราะมิเพียงแต่การลดการใช้พลังงานของมหาวิทยาลัย การช่วยลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก แต่รวมถึงการเป็นตัวแบบหน่วยงานที่มีส่วนช่วยให้สังคมมีความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม และมีส่วนช่วยปลูกฝัง กระตุ้นและสร้างจิตสำนึกให้ประชาคมมหาวิทยาลัย ซึ่งรวมถึงนักศึกษาที่เข้ามาและจบการศึกษาในแต่ละปีด้วย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...