วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปฏิรูประบบห้องสมุดฮาร์วาร์ด ตอนที่ 1/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ห้องสมุดแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้รับการยอมรับว่าเป็นห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพและใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำหน้าที่สนับสนุนงานทางด้านวิชาการของคณาจารย์ พนักงานและนักศึกษาในมหาวิทยาลัย แต่ยังเป็นเสมือนคลังสติปัญญาที่นักวิจัยและนักวิชาการทั่วโลกต่างหลั่งไหลเข้าใช้บริการ

ปฏิรูประบบห้องสมุดฮาร์วาร์ด ตอนที่ 2/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ปัจจุบัน ระบบบริหารจัดการภายในของห้องสมุดยังมีความล้าสมัย ใช้วิธีการบริหารจัดการแบบกระจายอำนาจ โดยให้ห้องสมุดแต่ละแห่งบริหารจัดการตนเอง มีระบบโครงสร้างการบริหารและกระบวนการตัดสินใจซับซ้อน ขาดความคล่องตัว รูปแบบการบริหารจัดการทางการเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนางานทางด้านวิชาการ รวมทั้งไม่สามารถตอบสนองต่อทิศทางนโยบายการทำงานร่วมกัน และความท้าทายทางด้านสติปัญญาในศตวรรษที่ 21 ได้

ปฏิรูประบบห้องสมุดฮาร์วาร์ด ตอนที่ 3/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

การปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการทางการเงิน ปัจจุบันระบบการบริหารจัดการทางด้านการเงินของห้องสมุดเกี่ยวกับการซื้อวัสดุอุปกรณ์และการให้บริการ ยังเป็นอุปสรรคต่อการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้น มหาวิทยาลัยจึงควรจัดให้มีการประเมินระบบการบริหารจัดการทางการเงินเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ สถานที่ และการให้บริการของห้องสมุดใหม่ โดยเริ่มต้นจากการประเมินระบบการบริหารจัดการทางด้านการเงินของ Harvard Depository ก่อน การเริ่มต้นปรับปรุงที่สถานที่เก็บวัสดุอุปกรณ์นี้ จะทำให้ได้รูปแบบผลลัพธ์ที่เป็นต้นแบบ ซึ่งอาจขยายสู่ความร่วมมือในลักษณะอื่น ๆ ได้

ปฏิรูประบบห้องสมุดฮาร์วาร์ด ตอนที่ 4/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ประยุกต์สู่ประเทศไทย
ห้องสมุดหรือสถาบันวิทยบริการของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ นับเป็นหัวใจสำคัญในการค้นคว้าวิจัยที่สำคัญและการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในระดับการอุดมศึกษาและระดับประเทศ ผมเชื่อว่า “คนจะเก่ง รู้ลึก รู้กว้าง และรู้ไกลได้ จะมาจากการค้นคว้าเพิ่มเติม การเรียนรู้ในชั้นเรียนไม่เพียงพอ”

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยชั้นนำด้านความยั่งยืน ตอนที่ 1/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ผลจากการสำรวจของเว็บไซต์ The College Sustainability Report Card ซึ่งได้ทำการสำรวจมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดาจำนวน 332 สถาบันในมิติด้านความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ทำการสำรวจติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 สำหรับในปี ค.ศ.2009 ฮาร์วาร์ดได้รับการประเมินให้มีคะแนนรวมอยู่ในระดับ A- ซึ่งจากจำนวนสถาบันที่ทำการสำรวจทั้งหมด มีเพียง 26 สถาบันเท่านั้นที่ได้รับคะแนนรวมในระดับดังกล่าวนี้

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยชั้นนำด้านความยั่งยืน ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและพลังงาน พิจารณาจากการตั้งเป้าหมายที่จะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 30 ภายในปี ค.ศ. 2016 ซึ่งฮาร์วาร์ดให้การสนับสนุนและผลักดันให้เกิดโครงการทางด้านการอนุรักษ์และพัฒนามากกว่า 12 โครงการด้วยกัน รวมทั้งยังให้การสนับสนุนเงินทุนกู้ยืมสำหรับทำโครงการดังกล่าวเหล่านี้ หรือที่เรียกว่า เงินทุนกู้ยืมสู่วิทยาลัยสีเขียว (Green Campus Loan Fund) ให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบอีกด้วย นอกจากนั้น ฮาร์วาร์ดยังได้มีการติดตั้งแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์จำนวนทั้งหมด 4 แผง แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้สำหรับทำน้ำร้อนอีกจำนวน 3 แผง และติดตั้ง rooftop wind เมื่อไม่นานมานี้

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยชั้นนำด้านความยั่งยืน ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

กระแสการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย มีการตื่นตัวมากขึ้น เนื่องด้วยสภาพความจำกัดและความเสื่อมโทรมทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการเปิดเสรีทางการค้าที่มีประเด็นด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง ส่งผลให้ประเทศไทยจำเป็นต้องดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พัฒนาจิตสาธารณะด้วยงานบริการสังคมแบบฮาร์วาร์ด ตอนที่ 1/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ฮาร์วาร์ดให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษา คณาจารย์ และพนักงานในมหาวิทยาลัยผ่านช่องทางต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยได้พยายามสอดแทรกและเชื่อมโยงเรื่องการบริการสังคมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน การทำวิจัย การพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาในระดับนโยบาย ตลอดจนการจัดให้มีบริการชุมชนและสังคมโดยตรง และการจัดกิจกรรมพิเศษประจำปีอื่น ๆ

พัฒนาจิตสาธารณะด้วยงานบริการสังคมแบบฮาร์วาร์ด ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

จัดกิจกรรมบริการสังคมต่อเนื่องตลอดปี ผ่านการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ชื่อว่า Phillips Brooks House Association หรือ PBHA ซึ่งเป็นองค์กรที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาฮาร์วาร์ด ได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครทำงานเพื่อสังคมตามประเด็นที่ตนเองสนใจในบริเวณพื้นที่ Greater Boston แต่ละปีจะมีอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมที่องค์กรดังกล่าวนี้จัดขึ้นมากกว่า 1,600 คน ตลอด 70 โครงการ อาทิ โครงการศึกษาผู้ใหญ่ โครงการทางด้านสุขภาพ โครงการผู้สูงอายุ ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาค่านิยมจิตสาธารณะ รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยเหล่านี้ไปในตัวอีกด้วย

พัฒนาจิตสาธารณะด้วยงานบริการสังคมแบบฮาร์วาร์ด ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ควรมีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาได้แสดงออกในการทำดีในการทำเพื่อผู้อื่นหรือสังคม เนื่องด้วยวัยนี้ เป็นวัยที่พร้อมจะแสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความเป็นตัวของตัวเอง อีกทั้งมหาวิทยาลัยเองนับเป็นแหล่งที่มีความพร้อมในการจัดกิจกรรม และเป็นที่รวมตัวของผู้เรียนที่มีการศึกษาในระดับสูง การจัดระบบการให้ผู้เรียนได้แสดงออกในลักษณะของการมีจิตสาธารณะจึงเป็นประเด็นที่มหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญ และให้การสนับสนุน
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...