วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

คบเวลาเป็นเพื่อนสนิท

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

เวลา คือ เพื่อนแท้ที่ช่วยส่งเสริมความสำเร็จในทุกจังหวะก้าวของชีวิต...หากเราเห็นคุณค่าและความสำคัญของมัน

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

แตกประเด็น นโยบายลดภาษี ตอนที่ 1/2

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

คอลัมน์ :  แนวคิด ดร.แดน
การลดอัตราภาษีรายได้นิติบุคคลเป็นแนวคิดที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องในช่วงของรัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมา เช่นเดียวกับรัฐบาลปัจจุบัน รัฐมนตรีคลังได้กล่าวถึงข้อเสนอการลดอัตราภาษีรายได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 18 โดยความเห็นส่วนตัว ผมเห็นด้วยกับหลักการของการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะการเก็บภาษีนิติบุคคลในอัตราที่สูงเป็นเหมือนการลงโทษผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นผู้ทำให้เกิดผลผลิตและการจ้างงาน

แตกประเด็น นโยบายลดภาษี ตอนที่ 2/2

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ส่วนวัตถุประสงค์ของนโยบายในการสร้างจูงใจให้สถานประกอบการชำระภาษีครบถ้วน และดึงดูดสถานประกอบการนอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบนั้น จะยังไม่บรรลุผลในระยะสั้นหรือระยะกลาง เพราะผู้ประกอบการนอกระบบยังคงมีต้นทุนของการอยู่นอกระบบต่ำกว่าการเข้ามาอยู่ในระบบ ถึงแม้ว่าจะลดอัตราภาษีลงแล้วก็ตาม เว้นเสียแต่ว่ารัฐบาลจะกำหนดมาตรการเพื่อเพิ่มต้นทุนของการอยู่นอกระบบ

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

อย่ารอสันติภาพ หลังสงคราม ตอนที่ 1/2

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

“สิ่งที่มนุษยชาติแสวงหา คือ สงคราม หรือ สันติภาพ หากเราปรารถนาสันติภาพจะต้องปราศจากสงครามหรือความขัดแย้งใด ๆ อันจะนำมาซึ่งความเกลียดชังและการทำลายกัน”

อย่ารอสันติภาพ หลังสงคราม ตอนที่ 2/2

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

จากประวัติศาสตร์การดำรงอยู่ของมนุษยชาติ เราพบว่าวงจรของการแสวงหา “สันติภาพ” มักจะเกิดขึ้นภายหลังการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของชีวิตและทรัพย์สินที่ไม่สามารถเรียกคืนได้ หลังภาวะสงครามจึงมักเกิดการเซ็นสัญญาสันติภาพระหว่างกัน ทว่าในขณะเดียวกัน แต่ละฝ่ายต่างยังคงสะสมและพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ไปด้วย เพื่อเมื่อถึงเวลาแห่งความขัดแย้งจะสามารถมีอาวุธในการนำมาใช้ และเมื่อสงครามยุติจะกลับสู่วงจรแห่งการเรียกร้องและแสวงหาสันติภาพอีกครั้งหนึ่ง วนเวียนในลักษณะนี้ต่อไปเรื่อย ๆ สันติภาพแท้จึงยังคงเป็นเพียง "ความฝัน" ที่เลื่อนลอย

ภาวะ “กลืนไม่เข้า คายไม่ออก” ทางการเมือง ตอนที่ 1/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มุ่งหมายเพื่อรื้อไล่ “ระบอบทักษิณ” กับรัฐบาล พรรคพลังประชาชนและกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังเดินทางมาถึงภาวะ “กลืนไม่เข้า คายไม่ออก” (dilemma) ไม่เพียงไม่รู้จะหาทางออกอย่างไร แต่ไม่รู้ว่าจะมี “ใคร” ที่พอจะมาช่วยสะสางหาทางออกอันเหมาะสม เพื่อประเทศจะก้าวหน้าต่อไปได้

ภาวะ “กลืนไม่เข้า คายไม่ออก” ทางการเมือง ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้า..ยากลำบาก แต่พอเป็นไปได้หากยอม “ถอย” คนละก้าว รัฐบาลไม่ควรจะสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรง หรือประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.บ.ความมั่นคง เพราะเท่ากับเป็นการขยายความขัดแย้งให้รุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาจนำมาซึ่งการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน แต่ควรเปิดใจ “ยอมถอยเพื่อเจรจา” โดยใช้ช่องทางรัฐสภาใช้เป็นเวทีในการสื่อสารข้อเรียกร้องและข้อกล่าวหาของพันธมิตร และให้สมาชิกรัฐสภาเสนอทางออกในการแก้วิกฤตในขณะนี้อย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะเงื่อนไขที่ว่า ภายใน 4 ปีนี้ รัฐบาลจะไม่ริเริ่มแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะเดียวกัน ฝ่ายพันธมิตรควร “ถอยหนึ่งก้าวเพื่อให้ระบบเดินไป” นั่นคือ ยอมรับกระบวนการประชาธิปไตยที่เสียงส่วนใหญ่เลือกเข้ามาบริหารประเทศ และยินดีใช้กลไกการมีส่วนร่วมตามกติกาที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญร่วมกับประชาชนทั่วประเทศ ในการกำกับและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล

ภาวะ “กลืนไม่เข้า คายไม่ออก” ทางการเมือง ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

กล่าวโดยสรุป คือ ระบบเลือกตั้งไม่สามารถที่จะคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณภาพที่ทุกคนในประเทศพึงพอใจเข้ามาได้ ดังนั้น เมื่อประชาชนกลุ่มน้อยเห็นว่า นักการเมืองส่วนหนึ่งไม่ได้เข้ามาเพื่อประโยชน์คนทั้งประเทศ จึงไม่พอใจ แต่ไม่สามารถเล่มตามระบบได้ จึงใช้ประชาธิปไตยทางตรง คือใช้สิทธิในการรวมตัวประท้วง จนกลายเป็นความวุ่นวายที่เกิดขึ้น

หัวใจของผู้ประกอบการ ตอนที่ 1/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

“ความก้าวหน้ายิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติไม่ได้อยู่ในสิ่งที่เขาค้นพบ -- แต่อยู่ที่ว่าเขาได้นำสิ่งที่เขาค้นพบนั้นมาประยุกต์ใช้เพื่อลดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ไม่ว่าจะโดยผ่านระบบประชาธิปไตย ระบบการศึกษาที่เข้มแข็ง ระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพ หรือโอกาสทางเศรษฐกิจที่เปิดกว้างขึ้น – การลดปัญหาความไม่เท่าเทียมนับเป็นความสำเร็จสูงสุดของมนุษย์”

หัวใจของผู้ประกอบการ ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ผมคิดว่า ถ้าผู้ประกอบการ นักธุรกิจ และบุคลากรในสาขาอาชีพใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะอยู่ในองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน เข้ามามีส่วนรับผิดชอบต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รับผิดชอบต่อส่วนรวม ดำเนินชีวิตด้วยยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม ปรารถนาให้คนในสังคมได้รับสิ่งที่ดี สังคมของเราย่อมพัฒนาอย่างยั่งยืน ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ จากความเห็นแก่ตัวย่อมลดลง

หัวใจของผู้ประกอบการ ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ทั้งนี้ในส่วนตัวผมเองได้ริเริ่มจัดตั้ง “กองทุนเวลาเพื่อสังคม” มากว่า 15 ปีแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีจิตสาธารณะในทุกระดับการศึกษา ในทุกสาขาอาชีพ ทุกสถานะทางเศรษฐกิจจัดสรรเวลาว่าง อุทิศเพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีให้เกิดขึ้นในบางมุมบางด้านของสังคม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ก้าวเล็ก ๆ ที่เราได้เริ่มต้นทำเพื่อสังคมไทยในวันนี้ จะมีคนอีกเป็นจำนวนมากเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ของการรังสรรค์สังคมให้ดีขึ้น ผ่านกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์ ในเวลาว่างของแต่ละคน

แต่งกาย เครื่องมือผูกมิตร พิชิตงาน ตอนที่ 1/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

จากประสบการณ์การทำงานและการพบปะผู้คนที่หลากหลายมากว่า 30 ปี ผมได้ข้อสรุปความหมายของการแต่งกาย ซึ่งมีความหมายมากกว่า การนำเครื่องนุ่งห่มมาปกปิดร่างกาย และมีคุณค่ามากกว่า การทำหน้าที่เป็นเครื่องแสดงฐานะ หรือแสดงสไตล์ แสดงตัวตนของบุคคลนั้น

ความหมายการแต่งกายของผม คือ เครื่องมือสร้างงานและสร้างมิตรภาพ

แต่งกาย เครื่องมือผูกมิตร พิชิตงาน ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

เราต้องแต่งกาย “ให้เหมาะสม” เพื่อทำงาน ผมคิดว่า เวลาทำงาน เราควรส่งเสริมให้พนักงานใส่ชุดที่เอื้อต่อการทำงานมากที่สุด การแต่งกายขององค์กรหลายแห่ง โดยเฉพาะในโรงงานหรือสำนักงานที่มีพนักงานจำนวนมาก และลักษณะงานเป็นงานประจำ มักนิยมให้พนักงานแต่งเครื่องแบบที่เหมือน ๆ กัน โดยให้คุณค่าความเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นสำคัญ ซึ่งผมคิดว่า ความเป็นระเบียบเรียบร้อยนั้นเป็นสิ่งดี แต่หากต้องการให้พนักงานเกิดความคิดสร้างสรรค์ รู้สึกเห็นคุณค่าในการใช้ความคิด การให้เสรีภาพในการแต่งกายย่อมเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน

แต่งกาย เครื่องมือผูกมิตร พิชิตงาน ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

การแต่งกาย…เครื่องมือสร้างมิตรภาพ
แอนดรูว์ แมตทิวส์ กล่าวไว้ในหนังสือ Making Friends ว่า “ถ้าเราอยากได้เพื่อน หรือรักษาเพื่อนไว้ จงใช้สติไตร่ตรองในการแต่งตัว” ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าเป็นคำกล่าวที่จริง เวลาที่เราต้องออกงาน พบปะผู้คน เราควรใส่ชุดที่เอื้อต่อการสร้างมิตรภาพ

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

สึนามิ บทเรียนของคนไทย

ดร.แดน ขอเป็นศูนย์นำความหวังดีจากชาวไทย ให้กำลังใจชาวญี่ปุ่น เชิญชวนเขียนคำให้กำลังใจ โดยจะมีทีมอาสาสมัครกองทุนเวลาเพื่อสังคมแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น และรวบรวมส่งไปที่ NHK เพื่อเผยแพร่ให้ชาวญี่ปุ่นรับทราบถึงความห่วงใยของคนไทย รวมทั้งได้รับกำลังใจในการฟื้นฟูประเทศต่อไป

การรับภัยแผ่นดินไหว ตอนที่ 2/2 (Fan club)



ตัวอย่างของพื้นที่ "สามเหลี่ยมแห่งชีวิต" ในห้องนอนของคุณ

การรับภัยแผ่นดินไหว ตอนที่ 1/2 (Fan club)

แฟนคลับ ดร.เกรียงศักดิ์ มีความรู้ดีๆ ที่ช่วยเราในการรับมือภัยพิบัติธรรมชาติ แผ่นดินไหวได้ {ขอบคุณข้อมูลจาก "Fw.Mail"}

สามเหลี่ยมแห่งชีวิต คือ พื้นที่ๆ ปลอดภัยหากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง อาจจะไม่ได้ปลอดภัย 100% แต่ก็สามารถช่วยลดความรุนแรงจากการถูกสิ่งของต่างๆหล่นทับได้

ดัชนีการขว้างรองเท้า - ตัววัดความไม่สงบของประเทศ

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com


คอลัมน์ :  ทัศนะวิจารณ์
ตั้งแต่เริ่มต้นปี 2554 กระแสการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในกลุ่ม ประเทศอาหรับ ซึ่งมีผู้นำที่ครองอำนาจมาอย่างยาวนาน แต่ประชาชนจำนวนหนึ่งมองว่ารัฐบาลไม่ได้นำประโยชน์สุขมาถึงประชาชนอย่างแท้ จริง โดยกระแสนี้ได้เริ่มต้นจากตูนิเซีย ไปยังอียิปต์ ลิเบีย ซึ่งขณะนี้ มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงระหว่างรัฐและประชาชน และค่อยๆ ปะทุขึ้นในอีกหลายประเทศ

พิบัติภัยญี่ปุ่น - ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

คอลัมน์ :  แนวคิด ดร.แดน

หลังจากประเทศญี่ปุ่นเกิดแผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม จนได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน สถาบันและผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจโดยส่วนใหญ่ได้แสดงความเห็นและวิเคราะห์ ว่า ธรณีพิบัติในญี่ปุ่นจะทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยชะลอตัวลง เนื่องจากการลดลงของการส่งออกไปญี่ปุ่น การลงทุนจากนักลงทุนญี่ปุ่น และจำนวนนักท่องเที่ยวจากญี่ปุ่น ขณะที่ภาคการผลิตบางส่วนต้องชะลอการผลิตลงเพราะขาดแคลนวัตถุดิบและสินค้า ขั้นกลางซึ่งต้องนำเข้าจากญี่ปุ่น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...