วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ฮาร์วาร์ดกับงานวิจัยและวิชาการด้านจีนศึกษา ตอนจบ

การผลิตจดหมายเหตุดิจิตอลทางด้านประวัติศาสต์ท้องถิ่นจีน (A Digital Archive for Chinese Local History) ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้ ประกอบไปด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ ด้วยกัน ได้แก่ การผลิตผลงานวิจัยใหม่เกี่ยวกับศาสนา วัฒนธรรม และสภาพบริบทสังคมของมณฑลหูหนาน ตั้งแต่สมัยราชวงค์ชิงจนกระทั่งถึงปัจจุบัน การเป็นผู้นำของโลกทางด้านการผลิตจดหมายเหตุดิจิตอลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจีน และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของนักวิชาการร่วมกัน

ฮาร์วาร์ดกับงานวิจัยและวิชาการด้านจีนศึกษา ตอนต้น

ที่ผ่านมา นอกจากฮาร์วาร์ดจะมุ่งดำเนินนโยบายโดยให้ความสำคัญกับการทำงานแบบสหวิทยาการร่วมกันระหว่างคณะ วิทยาลัย และหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยแล้ว ฮาร์วาร์ดยังได้ขยายพรมแดนความร่วมมือดังกล่าวนี้ไปยังมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในต่างแดน ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงความร่วมมือกับประเทศจีน มีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการทำวิจัยและการเรียนการสอนแบบสหวิทยาการในประเด็นเกี่ยวกับประเทศจีนร่วมกัน รวมทั้ง เพื่อเป็นแนวทางที่จะช่วยพัฒนาให้ความสัมพันธ์และความร่วมมือที่มีระหว่างคณาจารย์และนักศึกษาฮาร์วาร์ดกับสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยในจีน ให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ลักษณะชีวิตพิชิตความสำเร็จ อย่าง จอร์จ เอ เวลล์เลอร์ ตอนจบ

George Anthony Weller (1907-2002)
ลักษณะชีวิตของ จอร์จ แอนโทนี เวลล์เลอร์ ได้สะท้อนให้เราเห็นลักษณะชีวิตที่เป็นเหมือนบันไดสู่ความสำเร็จ ดังนี้

มีความอดทน เป็นความสามารถให้ตนเองยืนหยัด ที่จะทำตามสิ่งที่คาดหวังต่อไป โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญกับแรงกดดันในเรื่องของการทำงาน เมื่อเผชิญความยากลำบาก หรือความผิดพลาด ล้มเหลว

ลักษณะชีวิตพิชิตความสำเร็จ อย่าง จอร์จ เอ เวลล์เลอร์ ตอนต้น

จอร์จ แอนโทนี เวลล์เลอร์ (George Anthony Weller) นักเขียนนิยายชาวอเมริกัน ผู้สื่อข่าวประจำในหลายประเทศทั่วโลก ผลงานของเขาชนะรางวัลพูลิตเซอร์และยังเป็นนักข่าวชาวตะวันตกคนแรก ที่ได้ไปเยือนเมืองนางาซากิ ภายหลังถูกกองทัพสหรัฐฯ ถล่มด้วยระเบิดปรมาณู ในสงครามโลกครั้งที่ 2
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...