วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ผู้นำศาสนา และผู้นำการเมือง

คนดี ควรถูกจำกัดสิทธิทางการเมืองหรือไม่?

รัฐธรรมนูญทุกฉบับต่อเนื่องมาจนกระทั่งฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2550) มีมาตราหนึ่งที่บัญญัติว่า ห้ามพระภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช มิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.๒๕๕๐
“มาตรา ๑๐๐ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
(๑) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช”

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ อวยพรวันขึ้นปีใหม่จีน 2555

ซินเจีย ยู่อี่ ซินนี้ ฮวดไช้
ขอพรให้ มั่งคั่ง ทั้งสุขขี
ให้การค้า ก้าวรุก สุขภาพดี
พร้อมพรั่งมี บริวาร เบิกบานใจ

ด้วยความปรารถนาดี และจริงใจ
ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

ดร.แดน ขอบคุณเพื่อน

ผมขอขอบคุณสำหรับคำกลอนอวยพรปีใหม่ จากคุณ "สมาพล พิลาธิวัฒน์" ที่ส่งมาให้ ผมได้รับเรียบร้อยแล้ว ขอบคุณมากครับ

และในโอกาสนี้ ขอขอบคุณทุกคำอวยพรทั้งทางข้อความโทรศัพท์ ข้อความในเฟสบุค ทางอีเมล์ และอื่น ๆ ผมซาบซึ้งใจในมิตรภาพและขอทุกคำอวยพรย้อนคืนสู่ผู้มอบให้ทุกท่านให้มีแต่ความเจริญก้าวหน้า ประสบความสำเร็จในกิจการงาน สุขภาพแข็งแรงครับ

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยแห่งความประทับใจ ตอนที่ 4/4

มหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งของไทย แม้ว่าเมื่อหลายสิบปีก่อนจะอยู่ในสภาพเมืองมหาวิทยาลัย สงบร่มรื่น สมกับเป็นแหล่งเรียนรู้ แต่มหาวิทยาลัยกลับเป็นสิ่งที่ดึงดูดความเจริญ ผู้คนหลั่งใหลเข้ามาตั้งบ้านเรือน หอพักนักศึกษา ตลาด ร้านค้า รวมไปถึงแหล่งบันเทิงดึงดูดวัยรุ่นมากมาย จนกลายเป็นชุมชนเมืองที่แออัด จอแจไปด้วยผู้คน และจราจรที่ติดขัด

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยแห่งความประทับใจ ตอนที่ 3/4

ที่พักของผมเช่นกัน ไม่ต่างจากที่พักตากอากาศ ผมพักอยู่ชั้น 17 ของอาคารที่พักอาศัยที่จัดไว้สำหรับบุคลากรของฮาร์วาร์ด เมื่อมองออกนอกหน้าต่าง จะเห็นแม่น้ำชารล์ส (Charles) และมองเห็นบริเวณและอาคารของ Harvard Business School และอีกมุมหนึ่งจะเห็นวิวทิวทัศน์ที่งดงามของเมืองCambridge ผมชอบที่จะออกมานั่งอ่านหนังสือริมระเบียงในช่วงเวลาที่อากาศไม่หนาวจัด

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยแห่งความประทับใจ ตอนที่ 2/4

ผมรู้สึกว่า ได้รับการเชิญชวนให้ใช้เวลาทำสิ่งที่สำคัญที่สุด เมื่ออยู่ในสถานที่แห่งนี้ ซึ่งองค์ประกอบต่าง ๆ ล้วนเอื้อให้สามารถแสวงหาความรู้ได้อย่างไม่มีอุปสรรค

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยแห่งความประทับใจ ตอนที่ 1/4

หลังจากการประกาศยุบสภาฯ ของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ปี 2549 สักพักหนึ่ง ผมตอบรับการเชิญจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้ดำรงตำแหน่งเป็นนักวิชาการอาวุโส (Senior Fellow) ของศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และได้ใช้เวลาบรรยายและทำการวิจัยและแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่นี่ จึงทำให้ต้องเดินทางไปมาระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาอยู่เสมอ

ศักดิ์ศรีของหัวหน้างาน และการประเมินผลอย่างยุติธรรม

ยึดมั่นศักดิ์ศรี “หัวหน้า” ต้องตระหนักและเห็นคุณค่าของตำแหน่งที่ผู้บริหารให้ความไว้วางใจ มอบหมายให้เราทำ การเป็นหัวหน้าเป็นเหมือนสิทธิพิเศษ ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด สิ่งหนึ่งนั่นคือ การยึดมั่นในความยุติธรรม ไม่บิดเบือนด้วยอคติหรือความลำเอียงในใจ ในการประเมินต้องมีความเป็นธรรมต่อผู้ร่วมงานทุกคน แม้ว่า เมื่อประเมินแล้ว อาจทำให้บางคนไม่พอใจ หรือเราอาจไม่ต้องการให้เป็นบ้าง แต่ให้ภูมิใจว่าเราได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

หัวหน้างานกับการประเมินผลแบบเกรงใจ

ประเมินแบบเกรงใจ หัวหน้างานบางรายไม่กล้าประเมินตามความเป็นจริง ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าลูกน้องบางคนทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ผิดพลาดบ่อย เนื่องจากกลัวว่าจะเสียความสัมพันธ์ระหว่างกัน เกรงว่าลูกน้องจะไม่พอใจ และจะยิ่งไม่ให้ความร่วมมือในการทำงาน จึงต้องประเมินให้เท่าเทียมกัน ทั้งคนที่ทำงานดีและทำงานไม่ค่อยดี

ใช้หนังสือให้เป็น…ลูกเก่งและฉลาด ช่วงที่ 1

…“หนังสือมีไว้สำหรับอ่าน ไม่ได้มีไว้ให้ขีดเขียนหรือทำสกปรกเลอะเทอะ ดังนั้น ต้องใช้อย่างทะนุถนอม อ่านเสร็จก็เก็บให้เรียบร้อย”
…“ถ้าต้องการเน้นข้อความสำคัญ อนุญาตให้ขีดเส้นใต้เพียงอย่างเดียว และทำได้เฉพาะหนังสือของเราเองเท่านั้น”

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

หากมองหัวหน้าเป็น “เด็กเมื่อวานซืน”

กอบกิจ มีความคิดว่า “คำสั่ง คำแนะนำของหัวหน้า ไม่ต้องทำตามก็ได้ เราอยู่มานานกว่า รู้ดีกว่า เจ้าของบริษัทเชื่อมั่นในตัวเรามากกว่า”

กอบกิจ มักเรียกหัวหน้าของเขาว่า “เด็กเมื่อวานซืน” เสมอ

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

ตลาดแรงงานไทยในอนาคต

ปัจจุบันไทยมีความต้องการแรงงานระดับอาชีวศึกษาอย่างมาก จากผลการศึกษาความต้องการกำลังคนของกลุ่มอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาพบว่า กลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขาดแคลนกำลังคนระดับกลางหรือระดับปฏิบัติการค่อนข้างมาก โดยเฉพาะผู้จบระดับ ปวช. และ ปวส. ซึ่งกว่าร้อยละ 75 ของผู้จบการศึกษาระดับนี้ เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี นอกจากนั้น ผู้จบการศึกษาใหม่ ยังไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตรงลักษณะงาน โดยสถานประกอบการส่วนใหญ่ ต้องฝึกอบรมต่ออีกอย่างน้อย 3-6 เดือน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาเพิ่มมากขึ้น
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...