แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ปัจจัยที่ทำให้ชาวฟิลิปปินส์มีศักยภาพทางภาษาอังกฤษ ตอนที่ 3/3

เมื่อมองย้อนกลับมาดูประเทศไทยแล้ว ตามสถิติแล้วประชากรไทยใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเพียงร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย และเป็นที่น่าห่วงยิ่งขึ้น เมื่อเทียบคะแนน TOEFL ของผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ปรากฏว่าได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 500 คะแนน ซึ่งต่ำกว่า พม่า กัมพูชา และ เวียดนาม ถือว่าอยู่ในอันดับที่ต่ำมาก

ปัจจัยที่ทำให้ชาวฟิลิปปินส์มีศักยภาพทางภาษาอังกฤษ ตอนที่ 2/3

สืบเนื่องจากการที่ภาษาอังกฤษถูกใช้เป็นภาษาที่ 2 (หรือภาษาแรกสำหรับในบางครอบครัว) การเรียนรู้ภาษาอังกฤษจึงเริ่มต้นตั้งแต่ที่บ้านอย่างเป็นธรรมชาติ โดยพ่อแม่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ เพราะใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับลูกตั้งแต่เล็กๆ ทำให้เมื่อโตขึ้น เด็กเหล่านี้ไม่ได้รู้สึกแปลกแยกกับภาษาอังกฤษ และใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเป็นธรรมชาติในวิถีชีวิตปกติประจำวัน

ปัจจัยที่ทำให้ชาวฟิลิปปินส์มีศักยภาพทางภาษาอังกฤษ ตอนที่ 1/3

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน
รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้กำหนดนโยบายการส่งเสริมการส่งออกแรงงาน (Labor Export Policy) เพื่อลดปัญหาการว่างงานภายในประเทศ ควบคู่กับการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศผ่านรายได้ที่เป็นเงินโอนเข้าจากแรงงาน ที่ไปทำงานในต่างประเทศ ซึ่งมีจำนวนมากถึง 20.117 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปีในปี ค.ศ. 2011 หรือคิดเป็น 13.5 % ของ GDP ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้แรงงานฟิลิปปินส์เป็นที่ต้องการและมีความได้เปรียบกว่าแรงงานชาติ อื่นในตลาดแรงงานทั่วโลก คือ ทักษะทางภาษาอังกฤษ โดยจากสถิติการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารของประชากรชาวฟิลิปปินส์ คิดเป็นร้อยละ 55.49 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งถือว่าอยู่ในอัตราที่สูง เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจเป็นรองเพียงแค่ประเทศสิงคโปร์เท่านั้น ผมวิเคราะห์ว่า มีปัจจัยอย่างน้อยสำคัญ 3 ประการ ที่ทำให้ประชาชนชาวฟิลิปปินส์มีศักยภาพในการใช้ภาษาอังกฤษ จนสามารถเป็นแรงงานที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั่วโลกได้

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ

     ผมได้รับเกียรติจากคณะกรรมการโครงการจัดพิมพ์พระราชนิพนธ์ ซึ่งมี ฯพณฯ พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี เป็นประธานที่ปรึกษาโครงการฯ เลือกให้ผมเป็นผู้แปลพระราชนิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ เรื่อง “ความทรงจำในการตามเสด็จต่างประเทศทางราชการ” (In Memory of the State Visits of His Majesty the King)

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

น้ำท่วมกับการให้ความช่วยเหลือจากรัฐที่เหมาะสม ตอนที่ 3/3

การให้ความช่วยเหลือโดยรัฐที่มีความยืดหยุ่น (Flexible Aid)

การกำหนดเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือที่เข้มงวดเกินไป ในบางครั้งอาจทำให้รัฐไม่สามารถช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการได้อย่างรวดเร็วเพียงพอ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ควรคุมจำเป็นต้องมีหลักการกฎเกณฑ์ที่แน่นอน แต่ในวิธีการนั้นต้องมีความยืดหยุ่น เช่นอาจมีการกำหนดกรอบการให้ความช่วยเหลือโดยรัฐชั่วคราวขึ้นเหมือนอย่างเช่นในกรณีของสหภาพยุโรป ที่กำหนดกรอบการให้ความช่วยเหลือโดยรัฐแบบชั่วคราวขึ้น เพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินทั้งหลาย ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินซับไพร์มและวิกฤติหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นที่ยุโรป เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

น้ำท่วมกับการให้ความช่วยเหลือจากรัฐที่เหมาะสม ตอนที่ 2/3

การให้ความช่วยเหลือโดยรัฐที่เจาะจงกลุ่มผู้รับมากขึ้น (Better Targeted Aid)

รัฐจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือให้ถูกกลุ่มเพื่อให้มั่นใจว่าการช่วยเหลือนั้น จะแก้ไขสามารถปัญหาความล้มเหลวของตลาดได้และไม่ทำให้เกิดการบิดเบือนกลไกตลาด หรือหากการช่วยเหลือของรัฐทำให้กลไกตลาดถูกบิดเบือน รัฐต้องมีการชดเชยที่เหมาะสม

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

น้ำท่วมกับการให้ความช่วยเหลือจากรัฐที่เหมาะสม ตอนที่ 1/3

ที่ผ่านมาผมได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับประเด็นที่ผมบรรยายเรื่อง “State Aid and Distortion in Competition Law and Policy” ในงาน “International conference on Competition Enforcement Challenges & Consumer Welfare in Developing Countries” ที่เมืองอิสลามาบัดประเทศปากีสถาน

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รองผู้ว่าฯ ตอนที่ 2

ประสานงานเป็นเลิศ
ลักษณะบุคลิกและสไตล์การทำงานของรองผู้ว่าฯ กทม. เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการทำงานประสบผลสำเร็จ ลักษณะสำคัญประการหนึ่งคือ การมีทักษะในการประสานงาน เพราะประเภทงอนของ กทม.มีความหลากหลาย ต้องร่วมดำเนินงานกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องในแต่ละปัญหา ดังนั้น รองผู้ว่าฯ กทม. ควรจะเป็นรองผู้ว่าฯ ยุคใหม่ โดยเป็นผู้นำในการประสานงาน มีบุคลิกที่ทำงานร่วมผู้อื่นได้ดี ทั้งนี้เพื่อให้สามารถกำหนดทิศทางการแก้ปัญหาและพัฒนากรุงเทพฯ ได้อย่างเป็นระบบและองค์รวม ไม่แยกกันทำและไม่ใช่กำหนดนโยบายของตัวเองแล้วไปบังคับให้หน่วยงานอื่นทำ

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รองผู้ว่าฯ ตอนที่ 1

มีความรู้และประสบการณ์
ผู้ที่จะเป็นรองผู้ว่าฯ กทม. นั้น ควรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์เป็นผู้มีความรู้ ความเชียวชาญ ในการทำงานลักษณะใกล้เคียงกับงานที่ต้องรับผิดชอบ เพราะหากไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานที่ต้องรับผิดชอบและบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ 30,000 ล้านบาท ผู้คนที่อยู่อาศัยในกรุงเทพเกือบ 10 ล้านคน ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ในเมืองอีกมากมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาได้อย่างถูกจุดและพัฒนาเมืองให้ดีขึ้นย่อมเป็นไปได้ยาก

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผู้ว่าฯ กทม. ที่พึงประสงค์ ตอนที่ 4

พร้อมเป็นผู้นำการพัฒนาขณะดำรงตำแหน่ง

เมื่อได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าฯ ต้องทำหน้าที่เป็นหัวเรือใหญ่ในการทำหน้าที่ “ผู้นำการพัฒนา” มิใช่เพียง “ผู้นำการบริการประชาชน” เท่านั้น เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ โดยดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ตามนโยบายที่ได้ให้คำมั่นสัญญากับประชาชนขณะหาเสียง จึงจำเป็นต้องเป็นผู้นำที่ทำหน้าที่ขจัดอุปสรรคและสามารถนำทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่มาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผู้ว่าฯ กทม. ที่พึงประสงค์ ตอนที่ 3

มีทีมงานที่มี “คุณภาพ” ไม่ใช่ “ตอบแทนคุณ”

ผู้ว่าฯ ไม่ได้บริหารกรุงเทพฯ เพียงลำพัง จำเป็นต้องทำงานเป็นทีม ดังนั้น ศักยภาพของทีมงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ และประชาชนควรรับทราบก่อนว่าใครจะเข้ามาดำรงตำแหน่งรองผู้ว่า 4 คน และตำแหน่งบริหารต่าง ๆ เคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งผ่านมาเรามักจะเห็นเฉพาะภาพ ผู้สมัครผู้ว่าฯ เท่านั้น ทำให้ประชาชนไม่รู้เลยว่าใครจะเป็นทีมบริหาร เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถเหมาะสมหรือไม่ หรือเป็นตำแหน่งตอบแทนคุณให้กับบุคคลหรือหัวคะแนนที่ช่วยหาเสียงให้

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผู้ว่าฯ กทม. ที่พึงประสงค์ ตอนที่ 2

มีความเป็น “ผู้นำ” ไม่ใช่ “ผู้ตาม”
บุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าฯ กทม. จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นคนที่มีภาวะผู้นำสูง มีบุคลิกผู้นำจริง ๆ ไม่ใช่ใครก็ได้ ไม่ใช่เป็นเพียงคนที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก คนที่มีความรู้มีประสบการณ์การทำงานมายาวนาน หรือคนที่มีบุคลิกหน้าตาดีกว่าคนอื่น ๆ เท่านั้นแต่ลักษณะความเป็นผู้นำต้องปรากฏอย่างเด่นชัด อาทิ มีความสามารถเชิงบริหาร มีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนได้ทุกประเภท เป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล มีความสามารถในการทำงานเป็นทีมนอกจากนี้ต้องเป็นคนที่เอาใจใส่ เอาจริงเอาจัง ทุ่มเทในการทำงาน เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผู้ว่าฯ กทม. ที่พึงประสงค์ ตอนที่ 1

พร้อมเป็นผู้ว่าฯ ตั้งแต่เป็นผู้สมัคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ควรมีลักษณะที่ประชาชนพึงประสงค์ตั้งแต่เป็นผู้สมัครผู้ว่าฯ เพื่อให้ประชาชนวินิจฉัยและคาดการณ์ได้ว่า เมื่อดำรงตำแหน่งแล้ว สามารถเข้ามาพัฒนากรุงเทพฯ ได้จริง โดยควรมีความพร้อมในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิสัยทัศน์การพัฒนากรุงเทพฯ

“กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองน่าอยู่ ด้วยการบริหารจัดการที่ดีและมีความร่วมมือจากทุกส่วนของภาครัฐ โดยชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่นและสงบสุข”

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การควบคุมและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

การพัฒนาและเติบโตของกรุงเทพมหานครในอดีตผูกพันกับน้ำเป็นอย่างมาก จนอาจกล่าวได้ว่าน้ำและคลองเป็นสิ่งกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและการพัฒนาเติบโตของกรุงเทพมหานคร ดังจะเห็นได้จากสมัยแรกเริ่มสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีมีการขุดคลองเป็นจำนวนมาก คลองที่ถูกขุดขึ้นเหล่านี้นอกจากเพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์แล้ว ยังเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก เป็นทางลำเลียงน้ำสู่การอุปโภคและบริโภคของประชาชน อีกทั้งยังเป็นที่รองรับและระบายน้ำเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยในฤดูที่มีน้ำมากอีกด้วย

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมยั่งยืน

ประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี ทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางวัฒนธรรม ทั้งสิ่งที่เคยรุ่งเรืองมาแต่อดีต ไม่ว่าศิลปะ ประเพณี ประวัติศาสตร์ โบราณคดีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาการความรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตลอดจนวัฒนธรรมและค่านิยมสมัยใหม่จากประเทศตะวันตกและประเทศที่พัฒนาแล้ว

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รายได้กับความสุข ตอนที่ 5/5

อย่างไรก็ดี ระดับความสุขยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย เพราะระดับความสุขของประเทศที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกลับไม่ได้มีทิศทางเดียว กันทั้งหมด ซึ่งสะท้อนว่าระดับความสุขของประชาชนในแต่ละประเทศยังได้รับอิทธิพลจาก ปัจจัยที่แตกต่างกันตามบริบทของแต่ละประเทศอีกด้วย

รายได้กับความสุข ตอนที่ 4/5

ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนผู้มีความสุข ผู้ตอบแบบสอบถามในเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่มีขนาดใหญ่และขยายตัวเร็วมีสัดส่วนผู้ ที่ตอบว่า “มีความสุขมาก” สูงขึ้น เช่น ตุรกี เม็กซิโก อินเดีย เป็นต้น แต่ในบางประเทศ ประชาชนที่ตอบว่ามีความสุขมีสัดส่วนที่ลดลง เช่น อินโดนีเซีย บราซิล รัสเซีย เป็นต้น เช่นเดียวกับคนในประเทศร่ำรวยไม่ได้มองแง่ลบเป็นเหมือนกันทั้งหมด เช่น ผู้ตอบแบบสอบถามในญี่ปุ่นที่มีความสุขมีจำนวนมากขึ้น แม้ต้องประสบกับภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์สึนามิและวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

รายได้กับความสุข ตอนที่ 3/5

รูปแบบของความสัมพันธ์ตามทฤษฎีดังกล่าว สะท้อนว่าความสุขของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาหรือมีรายได้ต่อหัวต่ำมีความ สัมพันธ์กับรายได้มากกว่าความสุขของประชาชนในประเทศที่ร่ำรวย หรือสามารถอธิบายได้ว่า คนยากจนจะมีพึงพอใจหรือความสุขเพิ่มขึ้นมากเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น แต่คนร่ำรวยจะมีความสุขเพิ่มขึ้นน้อยเมื่อรายได้เพิ่มขึ้นในระดับเดียวกัน กับคนยากจน

รายได้กับความสุข ตอนที่ 2/5

ข้อถกเถียงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และความสุขอาจแบ่งได้เป็น 2 แนวคิดที่ขัดแย้งกัน คือ ระดับความสุขของประชาชนจะเพิ่มขึ้นตามระดับรายได้ แต่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการวัด GDP ถกเถียงว่า ความร่ำรวยที่เพิ่มขึ้นทำให้ความสุขของประชาชนเพิ่มขึ้นน้อยมาก และมองว่าความพยายามทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...