วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การค้าไทยในภาวะฝืดเคือง ตอนที่ 2/2

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

เช่นเดียวกับการค้าภายในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัว ทำให้ภาคเอกชนชะลอการลงทุนและทำให้ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นจนไม่กล้าใช้จ่าย การส่งออกและการท่องเที่ยวที่ชะลอตัวจะทำให้รายได้ของภาคการผลิตและธุรกิจท่องเที่ยวชะลอตัวลง ส่งผลทำให้ธุรกิจหลายแห่งต้องปิดกิจการหรือปลดแรงงานออกจำนวนมาก ความต้องการสินค้าและบริการภายในประเทศจึงชะลอตัวลง

นอกจากนี้ ภาคธุรกิจยังมีความเสี่ยงขาดสภาพคล่อง เพราะสถาบันการเงินเริ่มมีสภาพคล่องตึงตัว และระมัดระวังในการปล่อยกู้มากขึ้น ขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจข้ามชาติหันมาระดมทุนในประเทศมากขึ้น ทำให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหาแหล่งเงินทุนได้ยากขึ้น

ในภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองเช่นนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจจำเป็นต้องให้ความระมัดระวังในการบริหารต้นทุนและรายได้มากขึ้น โดยพยายามลดต้นทุนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ให้มากที่สุด โดยเฉพาะต้นทุนการเก็บสต็อกวัตถุดิบและสินค้า รวมทั้งเน้นการส่งออกไปยังตลาดที่ยังพอมีกำลังซื้อ เช่น จีน ตะวันออกกลาง เป็นต้น ตลอดจนส่งเสริมการขายในตลาดภายในประเทศที่ยังคงมีอัตราการขยายตัวมากกว่าสหรัฐฯและยุโรป

อย่างไรก็ดี ภาวะเศรษฐกิจของไทยไม่ได้หดตัวรุนแรงมากเท่ากับที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯและยุโรป จึงนับเป็นโอกาสของผู้ประกอบการของไทยที่สามารถประคองตัวให้รอดพ้นจากภาวะเช่นนี้ไปได้ เพราะหลังจากวิกฤตผ่านพ้นไป ธุรกิจที่เป็นคู่แข่งจำนวนหนึ่งจะล้มหายตายจากไป ทำให้จำนวนคู่แข่งขันลดลง ผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญกับความอยู่รอดและความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวด้วย โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการ และการปรับโครงสร้างตลาดเพื่อกระจายความเสี่ยงมากขึ้น

ตอนที่ 1   ตอนที่ 2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...