วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

ภาวะ “กลืนไม่เข้า คายไม่ออก” ทางการเมือง ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

กล่าวโดยสรุป คือ ระบบเลือกตั้งไม่สามารถที่จะคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณภาพที่ทุกคนในประเทศพึงพอใจเข้ามาได้ ดังนั้น เมื่อประชาชนกลุ่มน้อยเห็นว่า นักการเมืองส่วนหนึ่งไม่ได้เข้ามาเพื่อประโยชน์คนทั้งประเทศ จึงไม่พอใจ แต่ไม่สามารถเล่มตามระบบได้ จึงใช้ประชาธิปไตยทางตรง คือใช้สิทธิในการรวมตัวประท้วง จนกลายเป็นความวุ่นวายที่เกิดขึ้น

ผมคิดว่า เราจะต้องส่งเสริมการทำให้ “การเมืองสร้างสรรค์” เกิดขึ้น โดยมีพรรคการเมืองที่ “เป็นของประชาชน” อย่างแท้จริง แนวคิดการให้พรรคการเมืองเป็นของประชาชน ไม่ใช่พรรคของนายทุนเป็นแนวคิดที่ผมพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นมาโดยตลอด ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง พ.ศ.2548 ผมได้สื่อสารแนวคิดนี้แก่ผู้มาฟังคำปราศรัย ได้กล่าวเชิญชวนให้ร่วมกันบริจาค นอกจากนี้ ได้เสนอว่า ต้องแก้กฎหมายเพื่อจำกัดวงเงินสนับสนุนพรรคการเมืองของกลุ่มทุน เพื่อเปิดโอกาสให้ “คนดี-คนเก่ง-คนกล้า” เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแต่ “คนรวย” หรือ “คนเข้าถึงแหล่งทุน” เท่านั้น

หากแนวคิดนี้ขยายผลสู่ภาคปฏิบัติที่กว้างขวางขึ้น เราจะมีนักการเมืองที่เป็น “ตัวแทน” ประชาชน ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมมากขึ้น และประชาชนไม่จำเป็นต้องออกมาเดินโห่ไล่กลางถนนเช่นทุกวันนี้

ตอนที่ 1   ตอนที่ 2   ตอนที่ 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...