วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รู้ลึกจนชำนาญพัฒนาสู่ความเชี่ยวชาญ ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

การศึกษาของเธอ ส่งผลให้นักดาราศาสตร์สามารถคำนวนหาระยะห่างของดวงดาว โดยคำนวนจากการกระพริบแสง ของดาวแปรแสงเหล่านั้น นับว่ามีประโยชน์มากในยุคที่ยังไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์

นอกจากนี้ แนวคิดดังกล่าว ยังทำให้สามารถค้นพบและคำนวนระยะห่างของกาแลคซี่ ที่อยู่ไกลออกไปจากกาแลคซี่ที่เราอยู่ ซึ่งเป็นการขยายองค์ความรู้ด้านดาราศาสตร์ให้กว้างไกลมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างชีวิตของ เฮริอาตา ลีวิตต์ สะท้อนให้เราเห็นการเป็นนักเรียนรู้ สั่งสมประสบการณ์ทั้งจากการเรียน การทำงาน จนนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน

ปัจจุบันเราอยู่ในสังคมที่แข่งขันกันที่ความรู้ ผู้ที่มีโอกาสดีกว่าผู้อื่น คือคนที่มีรู้จักนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งต้องรู้จักสั่งสมประสบการณ์ทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าขึ้น

การเป็นนักเรียนรู้ที่ดี จึงช่วยให้เราเกิดความชำนาญ เชี่ยวชาญในสิ่งที่เราทำมากขึ้น กลายเป็นทุนที่อยู่ในตัวเรา และจะเพิ่มคุณค่าขึ้น หากเรารู้วิธีที่ถูกต้องในการเพิ่มพูน อาทิ

รักการเรียนเพื่อรู้ ไม่ใช่การท่องจำ เมื่อเราศึกษาค้นคว้า ความรู้ใด จำเป็นต้องทำความเข้าใจในสิ่งที่กำลังเรียนรู้ อาทิ เข้าใจแนวคิด ปรัชญาเบื้องหลัง เข้าใจเหตุและผล เข้าใจบริบทแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ซึ่งไม่ใช่การท่องจำ การรู้เพื่อรู้นั้นไม่เพียงพอ แต่ต้องอยู่ในระดับของการเข้าใจ เพราะจะช่วยให้รู้ว่านำมาใช้ในชีวิตจริงได้มากน้อยเพียงใด และสามารถปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

เรียนรู้อย่างลึกซึ้ง และมีความเป็นสหวิทยาการ การศึกษาค้นคว้า และการเรียนรู้ของแต่ละคนควรมีลักษณะของ การเรียนรู้ทั้งศาสตร์ที่ตนเองถนัด และสาขาอื่น โดยสามารถนำความรู้ที่มีอยู่เชื่อมโยงศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง และหาทางออกใหม่ ๆ ในการป้องกันและแก้ปัญหา ที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการพัฒนาวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ

ตอนที่ 1   ตอนที่ 2   ตอนที่ 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...