วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ปีเตอร์ กาดอล ผู้ประยุกต์งานเขียนจากการเรียนรู้สิ่งรอบตัว ตอนที่ 1/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ปีเตอร์ กาดอล (Peter Gadol) นักเขียนผู้สร้างสรรค์ผลงานจากประสบการณ์รอบตัว และมีแนวทางการนำเสนอที่ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพสังคมในขณะนั้น ถูกยกย่องให้เป็นนักเขียนที่เต็มไปด้วยพลัง และมีเอกลักษณ์ของตนเอง ในการสะท้อนค่านิยม และสภาวะของสังคมผ่านงานเขียนของเขา

การก้าวสู่วงการน้ำหมึกของ ปีเตอร์ กาดอล เริ่มต้นที่ฮาร์วาร์ด ขณะที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งสนใจภาษาอังกฤษและวรรณคดีอเมริกัน เขาได้ฝึกฝนทักษะการเขียนผ่านกิจกรรมนอกห้องเรียน โดยการเข้าร่วมงานกับนิตยสารด้านวรรณกรรมเก่าแก่ของมหาวิทยาลัยคือ “ฮาร์วาร์ด แอดโวเคต” (The Harvard Advocate) และฝึกงานกับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ดิ แอทแลนติค” (The Atlantic) ถึงสองปี 

ในขณะที่การเรียนในห้องเรียนนับว่า เป็นผู้เรียนที่มีความมุ่งใน เอาจริงเอาจัง และขวนขวายที่จะใกล้ชิดกับอาจารย์ที่มีประสบการณ์ด้านงานเขียน เพื่อซึมซับความรู้ แนวทางการทำงานจากบุคคลเหล่านั้น เช่น การเลือกเรียนวิชาการเขียน จากอาจารย์ชื่อดัง เซมัส เฮนนีย์ (Seamus Heaney) และอาจารย์ที่ปรึกษาอย่าง เฮเลน เวนด์เลอร์ (Helen Vendler) ซึ่งแต่ละท่านได้ชื่อว่า มีชื่อเสียงในวงการนักเขียนและวรรณกรรม

ผลจากการมุ่งมั่นในการเรียน ทำให้ ปีเตอร์ กาดอล จบการศึกษาด้วยคะแนนเกียรตินิยม จากฮาร์วาร์ด ในปี ค.ศ.1986 และได้เริ่มต้นเป็นนักเขียนมืออาชีพในเวลาต่อมา

ภายหลังจากจบการศึกษา 4 ปี เขามีผลงานที่เป็นหนังสือชิ้นแรกออกสู่สายตานักอ่านคือ “Coyote” โดยได้รับการยกย่องจากหนังสือพิมพ์ ลอส แองเจลลิส ไทม์ ว่า เป็นงานเขียนที่เต็มเปี่ยมด้วยพลัง ต่อมา ค.ศ.1993 นิยายเล่มที่สองของเขาถูกตีพิมพ์ และกลายเป็นที่กล่าวขวัญว่า “The Mystery Roast” เป็นนวนิยายที่ผสมผสานเรื่องราวของความรักโรแมนติค ความลึกลับและความฝันออกมาได้อย่างลงตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...