กว่าสี่สิบปีที่เกิดการอพยพของคนชนบทเข้ามาสู่กรุงเทพฯอย่างต่อเนื่อง ด้วยเป้าหมายที่แตกต่างกัน อาทิ เพื่อหางานทำ เพื่อศึกษาเล่าเรียน เพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ สถิติการย้ายถิ่นในช่วง ปี พ.ศ. 2508 – 2513 มีไม่เกิน 20,000 คนต่อปี และเริ่มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ มากว่า 90,000 คนต่อปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา
จากสถิติกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2554 กรุงเทพฯ มีประชากรที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน 5,726,203 คน ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 3,650 คนต่อตางรางกิโลเมตร ซึ่งหากกรุงเทพฯ มีจำนวนประชากรเท่านี้จริง คงเป็นเมืองที่น่าอยู่มากกว่านี้เพราะไม่หนาแน่นเกินไป แต่ในความเป็นจริงกรุงเทพฯ ได้มีประชากร ‘แฝง’ หรือประชากรจากที่อื่น ๆ ทุกท้องถิ่นทั่วไทย อพยพเข้ามาเรียน มาทำงาน มาลงหลักปักฐานสร้างครอบครัว โดยไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านอาจมาอยู่อาศัยกับญาติหรืออาศัยอยู่ภายในห้องเช่า บ้านเช่า ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป นอกจากประชาชนจากท้องถิ่นแล้ว กรุงเทพมหานครยังเป็นแหล่งพักพิงของแรงงานต่างด้าวที่หลบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ประชากรแฝงเหล่านี้ ส่งผลให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีประชากรอยู่อย่างหนาแน่นร่วม 10 ล้านคน ก่อให้เกิดภาวะคนล้นเมืองเช่นเดียวกับเมืองใหญ่หลายแห่งในโลก
จากหนังสือ กรุงเทพเมืองน่าอยู่
Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น