ตัวอย่าง พื้นที่ในเขตประเวศพบว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2530 – 2536 พื้นที่เกษตรกรรมลดลงจาก 11,869 ไร่ เหลือเพียง 7,962 ไร่ หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 32.91 ในระยะเวลา 6 ปี และได้พัฒนารุกเข้าไปในพื้นที่สำหรับรองรับน้ำฤดูน้ำหลาก จึงส่งผลกระทบให้หลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ เกิดอุทกภัยแทบทุกปีในช่วงหลายปีก่อน
นอกจากนี้ การเติบโตของเมืองอย่างขาดการควบคุม ส่งผลให้การพัฒนาพื้นที่ขาดการอนุรักษ์และจัดเตรียมพื้นที่สีเขียวให้มี สัดส่วนที่เหมาะสมกับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในเมือง พื้นที่ว่างและพื้นที่เกษตรที่อยู่รอบนอกของกรุงเทพฯ มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากความเป็นเมืองกระจายออกไปมากขึ้น ส่วนภายในเมืองพื้นที่สวนสาธารณะและสวนหย่อมที่ประชาชนจะได้รับผลประโยชน์ ยังมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับมหานครอื่น
จากหนังสือ กรุงเทพเมืองน่าอยู่
Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School, Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
Senior Fellow, Harvard Kennedy School, Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น