วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมยั่งยืน

ประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี ทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางวัฒนธรรม ทั้งสิ่งที่เคยรุ่งเรืองมาแต่อดีต ไม่ว่าศิลปะ ประเพณี ประวัติศาสตร์ โบราณคดีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาการความรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตลอดจนวัฒนธรรมและค่านิยมสมัยใหม่จากประเทศตะวันตกและประเทศที่พัฒนาแล้ว

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รายได้กับความสุข ตอนที่ 5/5

อย่างไรก็ดี ระดับความสุขยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย เพราะระดับความสุขของประเทศที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกลับไม่ได้มีทิศทางเดียว กันทั้งหมด ซึ่งสะท้อนว่าระดับความสุขของประชาชนในแต่ละประเทศยังได้รับอิทธิพลจาก ปัจจัยที่แตกต่างกันตามบริบทของแต่ละประเทศอีกด้วย

รายได้กับความสุข ตอนที่ 4/5

ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนผู้มีความสุข ผู้ตอบแบบสอบถามในเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่มีขนาดใหญ่และขยายตัวเร็วมีสัดส่วนผู้ ที่ตอบว่า “มีความสุขมาก” สูงขึ้น เช่น ตุรกี เม็กซิโก อินเดีย เป็นต้น แต่ในบางประเทศ ประชาชนที่ตอบว่ามีความสุขมีสัดส่วนที่ลดลง เช่น อินโดนีเซีย บราซิล รัสเซีย เป็นต้น เช่นเดียวกับคนในประเทศร่ำรวยไม่ได้มองแง่ลบเป็นเหมือนกันทั้งหมด เช่น ผู้ตอบแบบสอบถามในญี่ปุ่นที่มีความสุขมีจำนวนมากขึ้น แม้ต้องประสบกับภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์สึนามิและวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

รายได้กับความสุข ตอนที่ 3/5

รูปแบบของความสัมพันธ์ตามทฤษฎีดังกล่าว สะท้อนว่าความสุขของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาหรือมีรายได้ต่อหัวต่ำมีความ สัมพันธ์กับรายได้มากกว่าความสุขของประชาชนในประเทศที่ร่ำรวย หรือสามารถอธิบายได้ว่า คนยากจนจะมีพึงพอใจหรือความสุขเพิ่มขึ้นมากเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น แต่คนร่ำรวยจะมีความสุขเพิ่มขึ้นน้อยเมื่อรายได้เพิ่มขึ้นในระดับเดียวกัน กับคนยากจน

รายได้กับความสุข ตอนที่ 2/5

ข้อถกเถียงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และความสุขอาจแบ่งได้เป็น 2 แนวคิดที่ขัดแย้งกัน คือ ระดับความสุขของประชาชนจะเพิ่มขึ้นตามระดับรายได้ แต่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการวัด GDP ถกเถียงว่า ความร่ำรวยที่เพิ่มขึ้นทำให้ความสุขของประชาชนเพิ่มขึ้นน้อยมาก และมองว่าความพยายามทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย

รายได้กับความสุข ตอนที่ 1/5

การวัดความก้าวหน้าของการพัฒนาของประเทศ โดยใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP เป็นประเด็นที่ได้รับการถกเถียงมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในประเด็นที่ความเจริญทางเศรษฐกิจไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงของการพัฒนาประเทศ รวมทั้งมีข้อเสนอให้มีการวัดความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness) แทนการวัด GDP ซึ่งรัฐบาลของบางประเทศได้มีการจัดตั้งโครงการศึกษา “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness) เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ชุมชนเข้มแข็ง

ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีชุมชนประเภทต่าง ๆ จำนวน 1,604 ชุมชนแบ่งเป็นชุมชนแออัด 796 แห่ง หมู่บ้านจัดสรร 243 แห่ง ชุมชนชานเมือง 327 แห่ง ชุมชนเมือง 168 แห่ง และเคหะชุมชน 70 แห่ง ในอดีตที่ผ่านมา ชุมชนเหล่านี้ยังขาดการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา เนื่องจากการพัฒนาที่ผ่านมามีลักษณะดำเนินนโยบายจากหน่วยงานภาครัฐและกรุงเทพมหานคร ประชาชนเป็นผู้เรียกร้องมากกว่าผู้ร่วมลงมือพัฒนา ชุมชนยังขาดการตระหนักและเห็นผลประโยชน์ของการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม อย่างไรก็ตาม ทางกรุงเทพมหานครได้เริ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีองค์กรชุมชนเป็นแกนนำ

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กรุงเทพฯ สีเขียว

จากสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ กรุงเทพมหานครไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ได้พยายามหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสภาพแวดล้อมของเมืองให้น่าอยู่ ขึ้นอยู่เสมอ การดำเนินการหลายอย่างได้มีส่วนช่วยให้สภาพแวดล้อมด้านต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ เริ่มมีความสดใสกว่าเดิม

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัญหาพื้นที่สีเขียวลดลง

ในอดีตกรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวเป็นจำนวนมากเนื่องจากเป็นบริเวณที่ทำการเกษตรเป็นหลัก ต่อมาเมื่อความเป็นเมืองกระจายออกไปมากขึ้น พื้นที่เกษตรเดิมจึงถูกเปลี่ยนเป็นเป็นสิ่งก่อสร้างชนิดต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว แต่การพัฒนาบ้านเมืองกลับขาดการควบคุมโดยผังเมืองที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้พื้นที่แถบชานเมือง ทั้งพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่รองรับน้ำ กลายมาเป็นพื้นที่เมืองอย่างรวดเร็วโดยไม่สัมพันธ์กับการพัฒนาด้านอื่น ๆ เช่น ถนน สาธารณูปโภค สาธารณูปการต่าง ๆ
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...