ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีชุมชนประเภทต่าง ๆ จำนวน 1,604 ชุมชนแบ่งเป็นชุมชนแออัด 796 แห่ง หมู่บ้านจัดสรร 243 แห่ง ชุมชนชานเมือง 327 แห่ง ชุมชนเมือง 168 แห่ง และเคหะชุมชน 70 แห่ง ในอดีตที่ผ่านมา ชุมชนเหล่านี้ยังขาดการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา เนื่องจากการพัฒนาที่ผ่านมามีลักษณะดำเนินนโยบายจากหน่วยงานภาครัฐและกรุงเทพมหานคร ประชาชนเป็นผู้เรียกร้องมากกว่าผู้ร่วมลงมือพัฒนา ชุมชนยังขาดการตระหนักและเห็นผลประโยชน์ของการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม อย่างไรก็ตาม ทางกรุงเทพมหานครได้เริ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีองค์กรชุมชนเป็นแกนนำ
สำนักพัฒนาชุมชนได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการจัดตั้งองค์กรชุมชนและกลุ่มในชุมชนประมาณ 1,500 ชุมชน จากชุมชนกรุงเทพมหานครทั้งหมด 1,604 ชุมชน และได้พัฒนาความรู้ความสามารถของกรรมการชุมชน อาสาสมัคร รวมทั้งกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชนครบ 50 สำนักงานเขต เช่น กลุ่มออมทรัพย์ 55 กลุ่ม กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เขตชั้นนอก 27 เขต การจัดประชุมสัมมนาและอบรมเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ในการดำเนินงานประชาคมเมือง การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานของกรรมการชุมชน การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และการพัฒนาเครือข่ายประชาคม ส่งผลทำให้ชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชน และสร้างเครือข่ายประชาชนให้เข้มแข็งและกว้างขวางยิ่งขึ้น
กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการจัดตั้งและพัฒนากองทุนชุมชนได้จัดให้มีโครงการส่งเสริมการขายและการตลาด โดยรวบรวมรายละเอียดผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพและมาตรฐาน สามารถแข่งขันในตลาดได้ จำนวน 150 ผลิตภัณฑ์ จากการสำรวจผลิตภัณฑ์ในชุมชนจากพื้นที่ 50 เขตทั่วกรุงเทพมหานคร และส่งเสริมอาชีพการเกษตรในพื้นที่เขตชั้นนอก การพัฒนาความรู้และฝึกทักษะอาชีพ การจัดกิจกรรมเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ของดี 50 เขต การส่งเสริมสินค้าชุมชน เป็นต้น
Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School, Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
Senior Fellow, Harvard Kennedy School, Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น