วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผู้ว่าฯ กทม. ที่พึงประสงค์ ตอนที่ 4

พร้อมเป็นผู้นำการพัฒนาขณะดำรงตำแหน่ง

เมื่อได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าฯ ต้องทำหน้าที่เป็นหัวเรือใหญ่ในการทำหน้าที่ “ผู้นำการพัฒนา” มิใช่เพียง “ผู้นำการบริการประชาชน” เท่านั้น เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ โดยดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ตามนโยบายที่ได้ให้คำมั่นสัญญากับประชาชนขณะหาเสียง จึงจำเป็นต้องเป็นผู้นำที่ทำหน้าที่ขจัดอุปสรรคและสามารถนำทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่มาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

ผู้ว่าฯ ที่พึงประสงค์จึงควรเป็นผู้นำที่ดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ปกติ อันได้แก่

- เป็น “ผู้นำ” การประสานงาน
ผู้ว่าฯ ควรเป็น “ผู้นำ” ในการผลักดันให้เกิดการตกลงแบ่งอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน สมเหตุสมผล ไม่ซ้อนทับในการดำเนินการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ควรทำหน้าที่ประสานงานให้เกิดการตัดสินใจว่า จะกระจายอำนาจลง กทม. เรื่องอะไรบ้างเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน

- เป็น “ผู้นำ” การแก้ไขกฎหมาย
ผู้ว่าฯ ต้องไม่เป็นเพียงผู้ที่เข้ามาบริหารจัดการตามกรอบกติกาที่กำหนดไว้เท่านั้น แต่ต้องเข้ามาบริหารจัดการ ปรับปรุง แก้ไข กฎระเบียบ ข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน

- เป็น “ผู้นำ” การบริหารมุ่งประสิทธิผล
ผู้ว่าฯ จะต้องเร่งวิเคราะห์นโยบายการบริหารงานว่ากิจการใดที่ กทม. ควรจะดำเนินการเอง และจะบริหารในระดับใดซึ่งจะก่อประโยชน์สูงสุด

- เป็น “ผู้นำ” การกระจายอำนาจ
ผู้ว่าฯ ควรเป็นแกนนำร่วมกับประชาชนในกรุงเทพฯ ร่วมกันกดดันให้เกิดการกระจายอำนาจให้ กทม.

- เป็น “ผู้นำ” การมีส่วนร่วมของประชาชน
ผู้ว่าฯ กทม. ควรตระหนักว่า การแก้ปัญหาและพัฒนากรุงเทพฯ จะไม่มีทางสำเร็จได้เลย หากประชาชนไม่มีส่วนร่วม

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School, Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...