วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ไมเคิล แมคโคบี นักวิชาการผู้มุ่งมั่นสร้างความรู้ ตอนที่ 4/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

พัฒนาความรู้ มีลักษณะเป็นนักเรียนตลอดชีวิต อันนำไปสู่ การพยายามค้นหาคำตอบต่อข้อสงสัย เช่น หาในหนังสืออ้างอิง ถามผู้รู้ คิดใคร่ครวญหาคำตอบ พิจารณาบริบทที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลและคิดอย่างเป็นระบบ มองหาความเชื่อมโยงของสิ่งต่าง ๆ ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อขยายฐานความรู้ ฐานความคิด และฐานความเข้าใจให้มีความชัดเจน กว้างขวาง ถูกต้องและลึกซึ้งมากขึ้น

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ทางวิชาการ โดยการแสวงหาช่องทางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สัมมนาวิชาการ จัดตั้งชุมชนวิชาการ การประชุมกลุ่มปฏิบัติการหลังเลิกงาน ฯลฯ เพื่อจะได้มุมมองและการต่อยอดความรู้จากคนในทุกแขนงสาขาวิชาการ อันเป็นการสร้างบรรยากาศความตื่นตัวทางวิชาการ และเป็นประโยชน์ต่อการขยายองค์ความรู้

หาช่องทางประยุกต์ความรู้ที่มีอยู่ไปสู่ภาคปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และยังเป็นการบริจาคความคิดสู่สังคม เช่น เขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในนิตยสาร วารสาร รวบรวมเป็นตำราวิชาการ หนังสือเชิงวิชาการ

ผู้เรียนและผู้ที่อยู่ในแวดวงวิชาการทุกคน ควรเริ่มต้นในการตระหนักถึงความสำคัญและมุ่งพัฒนาตนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพและมีส่วนนำเอาความรู้ ความสามารถของตน เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เราสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ในหน้าที่การงาน บทบาท ความรับผิดชอบของเรา และมีส่วนในการสร้างสรรค์สังคมต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...