วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ข้อเสนอนโยบายอุตสาหกรรมและแรงงาน ภายหลังการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท

เมื่อวันที่ 1 เมษายนเป็นวันแรกของการบังคับใช้มาตรการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันในจังหวัดนำร่อง ซึ่งมาตรการนี้ได้ถูกคัดค้านว่าจะทำให้สถานประกอบการจำนวนมากไม่สามารถอยู่ รอดได้ แต่รัฐบาลก็ได้โต้แย้งว่าผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับตัวรับกับภาวะต้นทุนที่ เพิ่มสูงขึ้น ข้อโต้แย้งดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศ

ที่จริงแล้ว ปัญหาความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตของไทยและความเป็นอยู่ของแรงงาน เป็นที่รับทราบมาเป็นเวลานานแล้ว และได้มีข้อเสนอให้มีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศและการพัฒนาผลิต ภาพของแรงงานเพื่อยกระดับอัตราการค่าจ้างให้สูงขึ้น แต่ดูเหมือนว่าการดำเนินการต่างๆ ยังเป็นไปอย่างเชื่องช้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของทุกรัฐบาลหรือข้อเสนอของบุคคลต่างๆ เกี่ยวกับแนวทางการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและพัฒนาผลิตภาพของแรงงานมักเป็น นโยบายภาพรวมกว้างๆ ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น สร้างมูลค่าเพิ่มของภาคการผลิต พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม ยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรใหม่ ลดหย่อนภาษีสำหรับกิจกรรมการฝึกอบรมแรงงานในระบบหรือกิจกรรมด้านการวิจัยและ พัฒนา พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งแม้เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ดูเหมือนว่าไม่ใช่เป็นยุทธศาสตร์หรือคานงัดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้อย่างมีนัยสำคัญและรวดเร็ว

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจยังเป็นไปอย่างเชื่องช้า ส่วนหนึ่งเกิดจากเศรษฐกิจไทยยังมีเศรษฐกิจนอกระบบที่มีขนาดใหญ่ โดยมีการประเมินว่า เศรษฐกิจนอกระบบมีสัดส่วนถึงร้อยละ 45 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (สศช., 2544) และมีสัดส่วนการจ้างงานสูงถึงร้อยละ 60 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2548)

ภาคเศรษฐกิจนอกระบบยังมีโครงสร้างการผลิตแบบดั้งเดิม ใช้แรงงานเข้มข้น มีแรงงาน ที่ทำงานต่ำระดับ (ชั่วโมงการทำงานต่ำกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) จำนวนมาก และใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ไม่ทันสมัย สถานประกอบการที่อยู่นอกระบบยังสามารถอยู่รอดได้ เพราะมีต้นทุนการอยู่นอกระบบต่ำกว่าการเข้ามาอยู่ในระบบ อาทิ จ่ายค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ แรงงานไม่อยู่ในระบบประกันสังคม (นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม) ไม่จ่ายภาษีหรือหลบเลี่ยงภาษี กระบวนการผลิตหรือคุณภาพสินค้าไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ฯลฯ

การอยู่นอกระบบจึงทำให้ไม่มีแรงกดดันให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัว ขณะที่ทางการไม่มีข้อมูลของเศรษฐกิจนอกระบบ ทำให้ไม่สามารถลงไปกำกับดูแล ตรวจสอบ ควบคุมให้เป็นไปตามกฎหมาย และไม่สามารถส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนากระบวนการผลิตหรือยกระดับ ฝีมือแรงงานขึ้นมาได้

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...