Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
ปัจจัยแรก กลไกขับเคลื่อนสำคัญในระยะแรก คือ รัฐบาลควรมีมาตรการสนับสนุนหรือมาตรการกระตุ้นภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรม ให้สนับสนุนทุนหรือทำวิจัยเชิงพาณิชย์ร่วมกับมหาวิทยาลัย
ปัจจัยที่สอง ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเห็นความสำคัญและสนับสนุนผลิตงานวิจัย ซึ่ง เมื่อปลายปี พ.ศ.2550 มีงานวิจัยเรื่อง มหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ควรนำหน้าด้วยนักวิจัยที่อยู่ในอันดับต้น ๆ หรือไม่? โดย ดร.อแมนด้า เอช กูดอลล์ (Amanda H. Goodall) นักวิจัยกิตติมศักดิ์ องค์กรเพื่อการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์และสังคม (Economic and Social Research Council: ESRC) และนักวิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจมหาวิทยาลัยวอร์ริค (Warwick Business School) ผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของโลก มีความสัมพันธ์กับจำนวนผลงานวิจัยในมหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่า มหาวิทยาลัยที่อยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลกส่วนใหญ่ มีอธิการบดีที่มีผลงานวิจัยเป็นของตนเองที่มีคุณภาพ อีกทั้งผู้บริหารมีแนวคิดสนับสนุนทำวิจัย โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความน่าเชื่อถือผ่านการทำผลงานวิชาการหรืองานวิจัย และสร้างมาตรฐานวิจัยให้เป็นที่ยอมรับ
ปัจจัยที่สาม พัฒนาระบบบริหารงานวิจัยเชิงพาณิชย์ โดยมหาวิทยาลัยทุกแห่ง ควรผลิตงานวิจัยที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในเชิงพาณิชย์ โดยมีการบริหารจัดการงานวิจัยอย่างเป็นระบบ ที่มีส่วนทำให้สามารถสร้างรายได้สู่มหาวิทยาลัย อาจเริ่มจากงานวิจัยที่เป็นจุดแกร่งของมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างจุดขายและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รักษาคุณภาพในการวิจัย ให้เป็นที่ยอมรับทั้งจากภายในและต่างประเทศ การหาทุนสนับสนุนจากหลากหลายแหล่ง การดูแลและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการแบ่งผลประโยชน์ที่เหมาะสมน่าจูงใจ และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อจูงใจให้เกิดการทุ่มเทและการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น