วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ด ตัวแบบ "งานวิจัยเชิงพาณิชย์" ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

OTD มีระบบให้บริการเบ็ดเสร็จจุดเดียวที่มีความสะดวก ดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพ มีแนวทางให้บริการอยู่บนฐานแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ การพาณิชย์ กฎหมาย และมุ่งสู่การแก้โจทย์ที่มุ่งให้ “ทุกฝ่ายต่างชนะ” หรือที่เรียกว่า “win-win” ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักในการสร้างความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมการวิจัยคือ กลุ่มบุคลากรของฮาร์วาร์ดหรือผู้ประดิษฐ์คิดค้นงานวิจัย กลุ่มภาคอุตสาหกรรม และผู้ลงทุนหรือผู้ที่ให้ทุนวิจัย

OTD มีภารกิจในการกำหนดกลยุทธ์ความร่วมมือด้านงานวิจัยและพัฒนากับกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ การหาแหล่งทุนใหม่สนับสนุนงานวิจัย การให้คำแนะนำในการกำหนดประเด็นวิจัยที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ การพัฒนางานวิจัยในห้องปฎิบัติการสู่การวิจัยเชิงพาณิชย์ การดูแลด้านสิทธิบัตร การประเมินมูลค่าผลตอบแทนจากงานวิจัย การให้คำแนะนำในงานด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การให้คำปรึกษาในการทำข้อตกลงต่าง ๆ โดยเฉพาะข้อตกลงใหม่ที่ค่อนข้างมีความเสี่ยงแต่ได้ผลตอบแทนสูง การแนะนำและช่วยเหลือด้านการเจรจาต่อรองผลประโยชน์ การให้ความรู้ กฎระเบียบเงื่อนไข แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลที่จำเป็นในการสร้างความร่วมมือด้านนวัตกรรมการวิจัย ฯลฯ โดยผ่าน Media Center ซึ่งเป็นศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นมา ดำเนินงานนี้โดยเฉพาะ เน้นการนำเสนอผ่านระบบออนไลน์อย่างเป็นระบบ รวมถึงการเปิดช่องทางอำนวยความสะดวกให้กับภาคอุตสาหกรรมและแหล่งทุนเข้าสู่ระบบวิจัยของฮาร์วาร์ดได้โดยสะดวก โดยเฉพาะในงานวิจัยที่เป็นจุดแกร่งของฮาร์วาร์ด ฯลฯ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.otd.harvard.edu/

สะท้อนสู่มหาวิทยาลัยไทย
สภาวะการณ์ที่หลายมหาวิทยาลัย กำลังก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ การวิจัยเป็นช่องทางที่สำคัญในการหารายได้ เพื่อสามารถเลี้ยงตนเองได้ อีกทั้งงานวิจัยเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการเพิ่มคุณภาพและสร้างความน่าเชื่อถือด้านวิชาการให้แก่มหาวิทยาลัย ซึ่งผมเสนอว่า อย่างน้อย “สามปัจจัยขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนางานวิจัยเชิงพาณิชย์ในมหาวิทยาลัยไทย” คือ

ตอนที่ 1   ตอนที่ 2   ตอนที่ 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...