วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปฏิรูประบบห้องสมุดฮาร์วาร์ด ตอนที่ 4/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ประยุกต์สู่ประเทศไทย
ห้องสมุดหรือสถาบันวิทยบริการของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ นับเป็นหัวใจสำคัญในการค้นคว้าวิจัยที่สำคัญและการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในระดับการอุดมศึกษาและระดับประเทศ ผมเชื่อว่า “คนจะเก่ง รู้ลึก รู้กว้าง และรู้ไกลได้ จะมาจากการค้นคว้าเพิ่มเติม การเรียนรู้ในชั้นเรียนไม่เพียงพอ”

ดังนั้นการพัฒนาห้องสมุดที่มีการบริการหนังสือและสื่อวิชาการที่มีคุณภาพ เป็นแหล่งองค์ความรู้ที่เท่าทันพรมแดนความรู้ระดับโลกและมีความทันสมัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง 

ผมได้นำเสนอแนวคิดการพัฒนาห้องสมุดหรือสถาบันวิทยบริการมาโดยตลอด เมื่อมีโอกาสในบรรยายกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ห้องสมุดควรพัฒนาสู่การเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่สื่อควรอยู่ในรูป E-book การพัฒนาระบบบริการ E-book ถึงบ้านและที่ทำงาน การสร้างความร่วมมือและการเป็นพันธมิตรระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่เดียวกันในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน การสร้างเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์กับห้องสมุดทั่วโลก การมีระบบค้นหาความต้องการหนังสือและสื่อองค์ความรู้ที่จำเป็นจากกลุ่มคนต่าง ๆ เพื่อคัดสรรสื่อความรู้ที่มีคุณภาพเข้าสู่ห้องสมุดต่อเนื่อง การสร้างกลไกการบริจาคทุนทรัพย์จากหน่วยงานหรือองค์กรภายนอกสู่ห้องสมุด โดยผู้บริจาคควรมีส่วนได้รับเกียรตินั้นเช่น การตั้งชื่อห้อง ชื่อตึก หรือแผนกที่เก็บสื่อความรู้เป็นชื่อผู้ที่บริจาค หรือการเปิดเวลาทำการนอกเวลาราชการ โดยเฉพาะช่วงเย็น และเสาร์อาทิตย์ที่ผู้คนจะสามารถเข้ามาใช้เวลาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...