วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

หัวใจของผู้ประกอบการ ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ผมคิดว่า ถ้าผู้ประกอบการ นักธุรกิจ และบุคลากรในสาขาอาชีพใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะอยู่ในองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน เข้ามามีส่วนรับผิดชอบต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รับผิดชอบต่อส่วนรวม ดำเนินชีวิตด้วยยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม ปรารถนาให้คนในสังคมได้รับสิ่งที่ดี สังคมของเราย่อมพัฒนาอย่างยั่งยืน ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ จากความเห็นแก่ตัวย่อมลดลง

ในระยะสองทศวรรษที่ผ่านมา เราพบว่า ในประเทศไทยธุรกิจจำนวนหนึ่งเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาสังคมมากขึ้น แต่ถึงกระนั้น หากจะหวังให้ภาคธุรกิจทำหน้าที่เป็นตัวแสดงหลักที่จะขับเคลื่อนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคม ข้อจำกัดที่สำคัญของภาคธุรกิจนั่นคือ เป้าหมายของธุรกิจทั่วไปจะอยู่ที่ความอยู่รอดทางธุรกิจ มากกว่าการมุ่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคมอย่างเจาะจง

ท่ามกลางข้อจำกัดที่เห็นอยู่นี้ เราพบการขยายตัวของอีกภาคส่วนหนึ่งของสังคมที่เรียกว่า “ผู้ประกอบการเพื่อสังคม (social entrepreneurs)” หรือกลุ่มคนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคมประเด็นใดประเด็นหนึ่งอย่างเจาะจง สามารถค้นพบและสร้างสรรค์แนวทางใหม่ ๆ ในการจัดการหรือลดทอนผลสืบเนื่องเชิงลบของปัญหานั้น แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า คนเหล่านี้ยังไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนให้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาสังคมไทยเท่าที่ควร

ตอนที่ 1   ตอนที่ 2   ตอนที่ 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...