การเติบโตของเมืองในยุคต่อ ๆ มาส่งผลให้มีการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำลำคลองลดน้อยลงไป การพัฒนาเมืองที่ขาดการควบคุมโดยผังเมืองที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยในแม่น้ำลำคลองทำให้กิจการตื้นเขิน ยิ่งกว่านั้นพื้นที่รองรับน้ำแถบชานเมืองซึ่งเดิมเป็นพื้นที่เกษตรกรรมกลายเป็นพื้นที่เมืองอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบให้หลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ เกิดอุทกภัยแทบทุกปีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
กรุงเทพมหานครได้ทำการป้องกันและแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ดำเนินโครงการป้องกันน้ำท่วมหลายโครงการ อาทิ โครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมและปรับปรุงระบบระบายน้ำในพื้นที่บางพลัด และบางกอกน้อย โครงการก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์ โครงการบริหารพื้นที่น้ำท่วม ได้ดำเนินการจัดหาและพัฒนาพื้นที่ลุ่มบึงสระ เพื่อใช้เป็นที่รองรับน้ำและเก็บกักน้ำชั่วคราว (แก้มลิง) เป็นต้น
การดำเนินการเพื่อสร้างกรุงเทพฯ ให้ร่มเย็นเป็นเมืองน่าอยู่จำเป็นต้องดำเนินการต่อไป โดยต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ในการพัฒนา และต้องมีประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น หากทุกคนร่วมแรงร่วมใจย่อมเป็นพลังในการสร้างกรุงเทพให้น่าอยู่ มีพื้นที่สีเขียวในสัดส่วนที่เหมาะสมกับจำนวนประชากร มีชุมชนเมืองที่เข้มแข็ง มีวัฒนธรรมเป็นแกนนำในการพัฒนา และพ้นจากอุทกภัยตลอดกาล
Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School, Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
Senior Fellow, Harvard Kennedy School, Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น