วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พัฒนาจิตสาธารณะด้วยงานบริการสังคมแบบฮาร์วาร์ด ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

จัดกิจกรรมบริการสังคมต่อเนื่องตลอดปี ผ่านการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ชื่อว่า Phillips Brooks House Association หรือ PBHA ซึ่งเป็นองค์กรที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาฮาร์วาร์ด ได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครทำงานเพื่อสังคมตามประเด็นที่ตนเองสนใจในบริเวณพื้นที่ Greater Boston แต่ละปีจะมีอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมที่องค์กรดังกล่าวนี้จัดขึ้นมากกว่า 1,600 คน ตลอด 70 โครงการ อาทิ โครงการศึกษาผู้ใหญ่ โครงการทางด้านสุขภาพ โครงการผู้สูงอายุ ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาค่านิยมจิตสาธารณะ รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยเหล่านี้ไปในตัวอีกด้วย

สอดแทรกการบริการสังคมในหลักสูตรการเรียนการสอน โดยเฉพาะ Harvard Kennedy School ที่ถือว่าการให้บริการสังคมเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนการสอนในวิทยาลัยแห่งนี้ มีผลต่อการออกแบบหลักสูตร งานวิชาการ การฝึกงานภาคฤดูร้อน อาจารย์ และบริการอาชีพ ซึ่งจะถูกเชื่อมโยงเข้ากับงานการให้บริการสังคมเป็นพื้นฐานในหลายโครงการ อาทิ การออกแบบหลักสูตรให้นักศึกษามีส่วนร่วมลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริงกับหน่วยงานหรือองค์กรที่ให้บริการสาธารณะ หรือให้คณาจารย์ของฮาร์วาร์ดไปทำงานในหน่วยงานของภาครัฐที่ทำงานเชิงสาธารณะ แล้วนำประสบการณ์ที่ได้เหล่านั้น มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในชั้นเรียน เป็นต้น

ประยุกต์สู่มหาวิทยาลัยไทย
กว่า 20 ปีที่ผ่านมา ผมพูดเสมอและแทบจะทุกครั้งในการบรรยายงานด้านการศึกษาต่าง ๆ หรือเมื่อมีโอกาสมาว่า จำเป็นต้องให้ระบบการศึกษาจำเป็นต้องมุ่งสร้างผู้เรียน ให้เป็น “คนดี คนเก่ง คนกล้า” โดยประเด็นสำคัญคือ การสร้างและผลิตผู้เรียนให้เป็นคนดี ไม่เอาเปรียบผู้อื่น แต่เท่านั้นไม่พอต้องมีลักษณะของการเป็นผู้มีจิตสาธารณะคือ การรทำดีเพื่อผู้อื่นหรือสังคมส่วนรวมด้วย

ตอนที่ 1   ตอนที่ 2   ตอนที่ 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...