วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยชั้นนำด้านความยั่งยืน ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

กระแสการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย มีการตื่นตัวมากขึ้น เนื่องด้วยสภาพความจำกัดและความเสื่อมโทรมทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการเปิดเสรีทางการค้าที่มีประเด็นด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง ส่งผลให้ประเทศไทยจำเป็นต้องดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ผมเสนอว่า มหาวิทยาลัยไทย โดยเฉพาะกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำ ควรมีบทบาทเป็นตัวแบบและกระตุ้น ให้ภาคีอื่นและสังคมไทยภาพรวม พัฒนาสู่การเป็นองค์กรและสังคมที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การมุ่งพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมหรือสังคมที่ยั่งยืนไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย และยุทธศาสตร์แผนงานการดำเนินการมีอยู่แล้ว ดังนั้นหากมหาวิทยาลัยจะมีบทบาทนี้ ควรกำหนดจุดยืนที่ชัดเจน บนจุดแกร่งของสถาบันการอุดมศึกษา กลุ่มมหาวิทยาลัยควรวางยุทธศาสตร์ดำเนินการร่วมกันอย่างเป็นระบบภายในกลุ่มมหาวิทยาลัย และขยายผลสู่ภาคีอื่น มีการพัฒนาโครงการต้นแบบที่กลุ่มภาคีอื่นจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ฯลฯ โดยอาจเริ่มจากกลุ่มที่มหาวิทยาลัยค่อนข้างมีความสัมพันธ์หรือมีอิทธิพล เช่น สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชน บริษัทหรือส่วนราชการที่อยู่รายล้อมรอบมหาวิทยาลัย เป็นต้น

ตอนที่ 1   ตอนที่ 2   ตอนที่ 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...