วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

อย่ารอสันติภาพ หลังสงคราม ตอนที่ 2/2

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

จากประวัติศาสตร์การดำรงอยู่ของมนุษยชาติ เราพบว่าวงจรของการแสวงหา “สันติภาพ” มักจะเกิดขึ้นภายหลังการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของชีวิตและทรัพย์สินที่ไม่สามารถเรียกคืนได้ หลังภาวะสงครามจึงมักเกิดการเซ็นสัญญาสันติภาพระหว่างกัน ทว่าในขณะเดียวกัน แต่ละฝ่ายต่างยังคงสะสมและพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ไปด้วย เพื่อเมื่อถึงเวลาแห่งความขัดแย้งจะสามารถมีอาวุธในการนำมาใช้ และเมื่อสงครามยุติจะกลับสู่วงจรแห่งการเรียกร้องและแสวงหาสันติภาพอีกครั้งหนึ่ง วนเวียนในลักษณะนี้ต่อไปเรื่อย ๆ สันติภาพแท้จึงยังคงเป็นเพียง "ความฝัน" ที่เลื่อนลอย

เมื่อเราใช้วิธีจัดการความขัดแย้งแบบ ชนะ-แพ้ นั้นย่อมเท่ากับว่า เรากำลังกระตุ้นให้ฝ่ายที่แพ้ใช้วิธีการจัดการแบบเดียวกันตอบโต้กลับมา เช่นเดียวกับในเวลานี้ การบุกอิรัคของกองทัพสหรัฐ มิใช่เพื่อสร้างสันติภาพให้โลก ตรงกันข้ามกลับเป็นการบ่มเพาะความขัดแย้งที่รอเวลาทวงคืน

บุคคลหนึ่งกล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า “เมื่อมนุษย์ปราศจากสันติภาพภายในจิตใจของตน ก็เป็นการเสียเวลาเปล่าที่จะไปแสวงหาสันติภาพในที่อื่น ๆ” 

หากหัวใจทุกดวงของมนุษยชาติได้รับการเปิดกว้างออกแสวงหาสันติภาพ เราย่อมเห็นการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี บนพื้นฐานของการเคารพให้เกียรติ รับฟังกันและกัน ใช้วิธีที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ และปฏิเสธการใช้ความรุนแรงต่อกัน

ถึงกระนั้น เมื่อสันติภาพเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายในชีวิตจิตใจของมนุษย์ “การสร้างสันติภาพ” จึงเป็นเรื่องของการ “ปลูกฝัง” ที่ต้องกระทำผ่านกระบวนการศึกษาด้วย ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เกิดการก่อร่างปรัชญาการมองโลกอย่างถูกต้องและเหมาะสมในชีวิตของคนแต่ละคน อันเป็นการทำลายรากฐานแห่งความขัดแย้ง ความเกลียดชัง ความเห็นแก่ตัว และการเรียนรู้ที่จะจัดการความขัดแย้งแบบสันติชน

ตอนที่ 1   ตอนที่ 2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...