Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มุ่งหมายเพื่อรื้อไล่ “ระบอบทักษิณ” กับรัฐบาล พรรคพลังประชาชนและกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังเดินทางมาถึงภาวะ “กลืนไม่เข้า คายไม่ออก” (dilemma) ไม่เพียงไม่รู้จะหาทางออกอย่างไร แต่ไม่รู้ว่าจะมี “ใคร” ที่พอจะมาช่วยสะสางหาทางออกอันเหมาะสม เพื่อประเทศจะก้าวหน้าต่อไปได้
รัฐบาลชุดนี้มาจากการเลือกตั้งด้วยเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน จึงมักอ้างฉันทานุมัติจากเสียง 12 ล้านเสียงเข้ามาบริหารและปกครองประเทศ ขณะที่ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งไม่อาจยอมรับรัฐบาลชุดนี้ โดยกล่าวหาว่า เป็นรัฐบาลนอมินี มีความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อพวกพ้องและตัดตอนการยุบพรรค บริหารงานไร้ประสิทธิภาพ ผู้บริหารประเทศขาดภาวะผู้นำ ฯลฯ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกเท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริง รัฐบาลก็ยังไม่ได้บริหารประเทศนานพอที่จะสะท้อนได้ว่าล้มเหลวหรือมีเรื่องไม่ชอบมาพากลจนต้องถูกประท้วงขับไล่จากประชาชน ไม่เพียงเท่านี้ รัฐธรรมนูญ 2551 ยังได้เปิดช่องให้ประชาชนรวมตัวกันยื่นเสนอไม่ไว้วางใจนายกฯได้
ดังนั้น การเล่นนอกกรอบกติกาประชาธิปไตย จึงยังคงเป็นข้ออ้างให้รัฐบาลไม่ฟังเสียงใด ๆ จากผู้ชุมนุมประท้วงในครั้งนี้
เราคงต้องยอมรับว่า นี่คือสภาพความขัดแย้งทางการเมืองที่ก่อตัวมาในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา สังคมไทยได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นสองฝักสองฝ่าย แต่ละฝ่ายต่างมีเสียงสนับสนุนอยู่นับ 10 ล้านคน การแบ่งแยกแบบนี้ถูกผลักให้เป็นฝ่ายเขา-ฝ่ายเรา แบ่งสี-แบ่งข้าง จนยากที่จะผสานเป็นเนื้อเดียวกันในระยะเวลาอันสั้น
ให้บ้านเมืองกลับมาเหทือนเดิม
ตอบลบเลิกแบ่งสีกันเถอะ
ตอบลบ