วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

เอมี กัตแมนน์ บริหารอย่างมีวิสัยทัศน์ ตอนที่ 4/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

การทดสอบขั้นพื้นฐานเพื่อดูว่าเราเป็นผู้มีวิสัยทัศน์หรือไม่ ให้เราลองหลับตาและถามตัวเองว่า “ต้องการเห็นอนาคตเป็นอย่างไร?” “เราต้องการไปไกลถึงระดับใดในความสามารถและศักยภาพของเรา ทั้งในชีวิตส่วนตัวและในอาชีพการงาน?” “เราพร้อมจะท้าทายตัวเองให้กล้าทำสิ่งใหม่ ๆ เพื่อไปถึงจุดนั้นหรือไม่” “เรามั่นใจว่าจะบุกบั่นไม่ย่อท้อ แม้มีอุปสรรคจนกว่าสิ่งที่เราปรารถนาจะสำเร็จหรือไม่”

เรียนรู้ต่อยอด ความสำเร็จไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ หลายครั้งเราสามารถเรียนรู้ ที่จะสร้างความสำเร็จจากสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ดึงสิ่งที่ดีที่สุดมาเป็นต้นแบบ และนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทที่เราเป็นอยู่ โดยอาจพิจารณาว่า สามารถนำหลักการเหล่านั้น มาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพขึ้นได้อย่างไรบ้าง เป็นเหมือนเป้าหมายที่กระตุ้นให้เราอยากไปให้ถึง

เชื่อมั่น ยืนหยัด เพื่อไปให้ถึง เราต้องมีเชื่อมั่นและยืนหยัดในวิสัยทัศน์ของตน อาจมีคนไม่เข้าใจ ไม่เห็นด้วย สงสัยในวิสัยทัศน์ที่เรากำลังจะไป ยิ่งเมื่อเกิดปัญหาอุปสรรคระหว่างทาง เราต้องไม่หวั่นไหว ต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ มองข้ามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ภายหน้า ไปยังเป้าหมายระยะไกลที่ต้องการไปให้ถึง ขณะเดียวกัน ต้องมีความคิดแง่บวกและให้เชื่อมั่นว่า ถ้าเราพยายามอย่างเต็มที่ อุปสรรคที่ขวางกั้นจะจัดการได้ไม่ยาก

ความสำเร็จแท้ต้องเกิดจาก การค้นหาเป้าหมายที่มีคุณค่า การวางแผนการดำเนินการที่ดีรอบคอบ อย่างมียุทธศาสตร์ มีความมุ่งมั่นตั้งใจและพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แผนงานที่วางไว้สามารถบรรลุเป้าหมายได้ แม้อาจล้มลุกคลุกคลานไปบ้างในบางครั้ง แต่ตราบที่ความตั้งใจยังตั้งมั่นไม่สิ้นสุด ความสำเร็จย่อมอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...