วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ปีเตอร์ กาดอล ผู้ประยุกต์งานเขียนจากการเรียนรู้สิ่งรอบตัว ตอนที่ 4/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

หัวใจสำคัญที่ทำให้เราสามารถพัฒนาความรู้ เป็นความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การตกผลึกทางปัญญาได้นั้นคือ การพัฒนาทักษะการคิด ที่ต้องทำควบคู่กับไป เนื่องจากการคิดเป็นจะช่วยให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ได้รับ นำมาสร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งที่มีประโยชน์ได้

ผมได้นำเสนอทักษะการคิด 10 มิติ ที่จะช่วยให้เราพัฒนาทักษะการคิดอย่างครบถ้วน ในทุกมิติของชีวิต ตัวอย่างเช่น 

การคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นการขยายขอบเขตความคิดออกไป จากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

การคิดเชิงประยุกต์ ความสามารถในการนำสิ่งที่มีอยู่เดิม ไปปรับใช้ประโยชน์ในบริบทใหม่ได้อย่างเหมาะสม โดยยังคงหลักการของสิ่งเดิมไว้ 

การคิดเชิงสังเคราะห์ ความสามารถในการดึงองค์ประกอบต่าง ๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

การคิดเชิงมโนทัศน์ ความสามารถในการประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ เกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดได้ อย่างไม่ขัดแย้ง แล้วสร้างเป็นความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องนั้น

การเป็นนักเรียนรู้จากสิ่งที่อยู่รอบตัว ซึบซับและต่อยอดความรู้อยู่เสมอ จะเป็นเสมือนแนวทางในการเพิ่มพูนทุนความรู้ นำไปสู่การสร้างความรู้สดใหม่ ที่สามารถนำออกมาใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้สอดคล้อง เพราะเกิดจากความเข้าใจ ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดการสร้างนวัตกรรมให้การทำงานของตน และส่งผลต่อความก้าวหน้าของสังคมได้ในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...