วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ด... ตัวแบบมหาวิทยาลัยสีเขียว ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ดังตัวย่างข้างต้นนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกิจกรรมและโครงการฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวในการมีส่วนช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมหาวิทยาลัยไทยเอง ควรให้ความสำคัญในประเด็นรักษาและพัฒนาสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน เพราะมิเพียงแต่การลดการใช้พลังงานของมหาวิทยาลัย การช่วยลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก แต่รวมถึงการเป็นตัวแบบหน่วยงานที่มีส่วนช่วยให้สังคมมีความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม และมีส่วนช่วยปลูกฝัง กระตุ้นและสร้างจิตสำนึกให้ประชาคมมหาวิทยาลัย ซึ่งรวมถึงนักศึกษาที่เข้ามาและจบการศึกษาในแต่ละปีด้วย

มหาวิทยาลัยไทย ควรตื่นตัวพัฒนานเองและรวมกลุ่มมหาวิทยาลัย ในการดูแล รักษาและพัฒนาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมิได้มุ่งดำเนินในลักษณะผิวเผินหรือเพื่อสร้างภาพว่า มหาวิทยาลัยสนใจและให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่มีการตั้งเป้าหมาย กำหนดแผนยุทธศาสตร์ และแนวทางพัฒนาสู่ “มหาวิทยาลัยสีเขียว” ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยอาจเริ่มต้นจากภายในมหาวิทยาลัย แล้วค่อยขยายสู่การเป็นตัวแบบสู่หน่วยงานอื่นภายนอกหรือสู่ชุมชน การกำหนดให้มีตัวชี้วัดเพื่อการประเมินผลและนำผลที่ได้จากการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินการที่ชัดเจน เช่น ตั้งเป้าหมายที่จะลดปริมาณขยะ ปริมาณการใช้น้ำ ใช้ไฟฟ้า ในมหาวิทยาลัยปีละจำนวนเท่าไหร่ต่อปี ฯลฯ

ทั้งนี้ มาตรการและแนวทางที่กำหนดขึ้น ควรมีส่วนมุ่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างจิตสำนึกของประชาคมในมหาวิทยาลัย โดยจุดเริ่มต้นอาจต้อง ควรทำงานแบบร่วมมือกับประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสิ่งแวดล้อม หรืออาจเริ่มจากให้คณะที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเจ้าภาพในการดำเนินงาน แต่หากจะทำได้ดี ควรมีหน่วยงานเฉพาะกิจในการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะ โดยอาจเป็นหน่วยงานประสานงานและเจ้าภาพในการดำเนินโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียว เป็นต้น

ตอนที่ 1   ตอนที่ 2   ตอนที่ 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...