วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ด พัฒนาสู่มหาวิทยาลัยที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ตอนที่ 3/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ดังนั้น ฮาร์วาร์ดจึงแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อพร้อมรับสภาพความจำกัดทางทรัพยากร โดยที่ผ่านมาฮาร์วาร์ดดำเนินการผลักดัน ให้มีการทำงานข้ามคณะและประสานการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น สเต็มเซลล์ พันธุวิศวกรรมศาสตร์ ประสาทวิทยาศาสตร์ และชีววิศวกรรม เป็นต้น

อีกทั้งในอนาคต ฮาร์วาร์ดมีเป้าหมายขยายการทำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ในลักษณะการเป็นหุ้นส่วนกับหน่วยงานหรือองค์กรกลุ่มใหม่ ๆ ทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น อาทิ มูลนิธิ สมาคม องค์กรภาคอุตสาหกรรม ฯลฯ โดยมีฐานแนวคิดและความเชื่อมั่นมาจากผู้บริหารระดับสูงของฮาร์วาร์ดที่เชื่อว่า “การจะสามารถก้าวสู่จุดที่เหนือกว่าได้นั้น จะต้องมีพื้นฐานมาจากการคิดค้นและแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการผลิตและสนับสนุนงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์” นั่นเอง

ปลูกฝังและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสู่สังคม อนาคตฮาร์วาร์ดตั้งเป้าที่มิได้เป็นเพียงแหล่งผลิตองค์ความรู้และงานวิจัยที่มีคุณภาพเท่านั้น แต่จะเป็นเหมือนกระบอกเสียงสำคัญ ในการวิเคราะห์ บอกเล่าความจริงเกี่ยวกับประเด็นกระแสต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ตลอดจนการตอบข้อสงสัยหรือข้อถกเถียงที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การให้ทิศทางและคำตอบในทางที่ถูกต้องเหมาะสมและเป็นในเชิงสร้างสรรค์มากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...