วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ดร่วมกับชุมชนพร้อมรับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

เป็นโครงการที่มุ่งให้เกิดผลในภาคปฏิบัติ โดยสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริง มีการเชื่อมโยงกันระหว่างองค์ความรู้ที่มีอยู่กับการทำงานในภาคปฏิบัติ ส่วนหนึ่งก็เพื่อแก้ไขปัญหาองค์ความรู้แบบหอคอยงาช้าง ที่มีแต่องค์ความรู้หรือมีคุณค่าในเชิงทฤษฎี แต่ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงในภาคปฏิบัติ

เป็นโครงการที่เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนท้องถิ่น ฮาร์วาร์ดมีความพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะทำให้เกิดการพัฒนาไปพร้อมกันระหว่างตนเองและชุมชนท้องถิ่น ซึ่งแนวทางสำคัญประการหนึ่งที่ถูกนำมาใช้คือ การเป็นหุ้นส่วนทำงานร่วมกับองค์กรท้องถิ่นเหล่านี้ เพื่อจัดทำโครงงาน การพัฒนาหลักสูตรการสอน ตลอดจนการทำวิจัยร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเพื่อให้เกิดการฝึกงาน การมีประสบการณ์จริงของนักศึกษาและบุคลากรของฮาร์วาร์ด

เป็นโครงการที่มุ่งมองเชิงอนาคตเพื่อเตรียมพร้อมอย่างเท่าทัน ฮาร์วาร์ดค่อนข้างให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ในเชิงอนาคต มุ่งไปในทิศทางของการป้องกันร่วมด้วยไม่ได้เน้นตั้งรับเพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเท่านั้น โดยฮาร์วาร์ดกับการมองไปในอนาคตว่า เป็นกุญแจสำคัญสำหรับการยืนอยู่บนยอดคลื่นของการเปลี่ยนแปลงและการรักษาความเป็นเลิศ ซึ่งฮาร์วาร์ดตระหนักถึงความสำคัญจำเป็นนี้และได้มีการพยายามริเริ่มดำเนินการในลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง

บทบาทของมหาวิทยาลัยที่สำคัญที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงคือ การมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่นในอนาคต โดยมหาวิทยาลัย เป็นแกนนำด้านการนำทิศทาง การพัฒนาองค์ความรู้และงานวิจัย รวมถึงการคาดการณ์มองอนาคต เพื่อนำสู่แนวทางการป้องกันหรือบรรเทาปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และใช้ประโยชน์สูงสุดจากอนาคตที่จะมาถึง

ตอนที่ 1   ตอนที่ 2   ตอนที่ 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...