วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ด ตัวแบบมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับสากล ตอนที่ 4/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ประยุกต์สู่มหาวิทยาลัยไทย
ผมได้เสนอประเด็นการนำ “มหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก” ไว้เมื่อ 10 ปี ที่แล้ว ตั้งแต่ช่วงเริ่มปฏิรูปการศึกษาเมื่อ พ.ศ.2542 ซึ่งในช่วงเวลานั้น มีหลายคนไม่เห็นด้วยแนวคิดนี้ และให้ความเห็นว่าเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ แต่ผมยังยืนยันและพูดเรื่องนี้ พร้อมนำเสนอแนวทางในหลายเวที จนถึงปัจจุบัน

เมื่อเวลาผ่านไป เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยไทยขนาดใหญ่หลายแห่ง กำหนดวิสัยทัศน์และตั้งเป้าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก หรือเป็นมหาวิทยาลัยระดับสากล แต่การจะพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับสากล มิใช่เรื่องง่าย แต่ไม่ใช่เรื่องยากเกินกว่าที่จะเป็นไปได้ 

การจะก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับสากลได้ จำเป็นต้องเข้าร่วมการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก โดยพัฒนาตามดัชนีชี้วัดที่เป็นองค์ประกอบของการจัดอันดับ การกำหนดวิสัยทัศน์ที่มองการณ์ไกลและกล้าหาญ การอยู่ในบริบทมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ซึ่งมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ รวมถึงมีการพัฒนาการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์อย่างเป็นระบบ การสร้างเครือข่ายและประสานประโยชน์จากภาคีต่าง ๆ ทั่วโลก ตลอดจนการบูรณาการข้อมูลและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เพื่อให้รองรับการก้าวไปสู่พรมแดนการบริหารในรูปแบบใหม่ พรมแดนความรู้ใหม่ พรมแดนทางความแตกต่างด้านภาษา ประเด็นวิกฤตปัญหา และการทำงานข้ามวัฒนธรรม ฯลฯ ซึ่งล้วนมีจุดเริ่มต้นจากการต้องมี “ผู้บริหารชั้นยอดที่มีภาวะผู้นำระดับสูง มองการณ์ไกล และกล้าหาญ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...