วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ดผู้นำหลักสูตรการศึกษากลุ่มวัยเกษียณอายุ ตอนที่ 1/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ฮาร์วาร์ดตระหนักถึงและความสำคัญต่อการจัดการศึกษาสำหรับทุกกลุ่มคนรวมถึงผู้สูงอายุ โดยเป็นผู้นำจัดหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตมายาวนานกว่า 32 ปี ซึ่งความพยายามดังกล่าวนี้เริ่มต้น จากวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ที่ต้องการให้ฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถตอบสนองความต้องการของทุกกลุ่มคนได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยเกษียณอายุ ซึ่งเป็นผู้มีคุณค่าและเป็นคลังสติปัญญาของสังคม

ฮาร์วาร์ดผู้นำหลักสูตรการศึกษากลุ่มวัยเกษียณอายุ ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

การจัดการเรียนการสอนแบบแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกัน สำหรับที่นี่องค์ความรู้จากการสอน มิได้ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกของสถาบันแห่งนี้ เนื่องด้วยทางสถาบันฯ จะมีวิธีการเรียนการสอนแบบเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มและการเรียนรู้ ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน โดยที่สมาชิกสามารถคิดวางแผนออกแบบหลักสูตรและกำหนดประเด็นการศึกษาได้ด้วยตนเอง ฉะนั้น การเรียนการสอนเกือบทั้งหมดของสถาบันแห่งนี้ จึงมักจะจัดให้อยู่ในรูปแบบของการสัมมนา และการอภิปรายแลกเปลี่ยนกันระหว่างสมาชิก โดยไม่มีการสอบ ไม่มีการทำการบ้าน และไม่มีการให้เกรด

ฮาร์วาร์ดผู้นำหลักสูตรการศึกษากลุ่มวัยเกษียณอายุ ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาไม่สูงมากนัก โดยสมาชิกแต่ละคนจะมีค่าใช้จ่ายเฉพาะที่เป็นค่าลงทะเบียนจำนวน 400 ดอลล่าห์ต่อภาคการศึกษาเท่านั้น และจะไม่มีการเก็บค่าสมาชิกหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ แต่ผู้เรียนออกค่าใช้จ่ายเองในการศึกษานอกสถานที่

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ดร่วมกับชุมชนพร้อมรับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ตอนที่ 1/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

กระแสการเปลี่ยนแปลงและสภาวะวิกฤตต่าง ๆ โดยโลกต้องเผชิญกับความท้าทายและปัญหาใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาผู้บริหารระดับสูงของฮาร์วาร์ด ได้ตระหนักถึงความสำคัญ โดยออกมาแสดงวิสัยทัศน์และจุดยืนที่ชัดเจนในการท้าทาย ให้ประชาคมฮาร์วาร์ดปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือในการเผชิญกับภาวะวิกฤตต่าง ๆ ด้วยการนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากมหาวิทยาลัย ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และสนับสนุนให้ประชาคมฮาร์วาร์ด เข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมส่วนรวม โดยผลักดันให้ฮาร์วาร์ดเป็นผู้นำที่ยืนอยู่บนยอดคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงและพร้อมรับอนาคตได้อย่างเท่าทัน

ฮาร์วาร์ดร่วมกับชุมชนพร้อมรับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ตอนที่ 2/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติต่าง ๆ ในบริเวณพื้นที่เมืองนิวออร์ลีนส์ ความห่วงใยต่อสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าว เป็นตัวจุดประกายและผลักดันให้คณะวิจัยจากวิทยาลัยเคนเนดี้แห่งฮาร์วาร์ด จัดทำโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติต่าง ๆ ในบริเวณพื้นที่เมืองนิวออร์ลีนส์ ในมลรัฐหลุยส์เซียน่า เพื่อเป็นกรณีศึกษา โดยเป็นโครงการศึกษาต่อเนื่องระยะยาว ซึ่งภายในปีนี้ วิทยาลัยเคนเนดี้แห่งฮาร์วาร์ด จะเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนที่ชื่อว่า “Disaster Recovery Management and Urban Development: Rebuilding New Orleans” โดยยืนอยู่บนพื้นฐานประสบการณ์ของพื้นที่เมืองนิวร์ออลีนส์ ที่ประสบภัยพิบัติจากพายุเฮอริเคนแคทรีนาพัดถล่ม เมื่อปลายปี พ.ศ.2548 จนได้รับความเสียหายอย่างหนัก พื้นที่ประมาณร้อยละ 80 ของเมือง ถูกน้ำท่วมขังอยู่ในภาวะจมอยู่ใต้น้ำ ก่อความเสียหายอย่างรุนแรงแก่อาคารบ้านเรือนและฐานขุดเจาะน้ำมัน โดยได้คร่าชีวิตคน 1,500 คน และสร้างความเสียหายแก่เมืองนี้ 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ฮาร์วาร์ดร่วมกับชุมชนพร้อมรับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ตอนที่ 3/3

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

เป็นโครงการที่มุ่งให้เกิดผลในภาคปฏิบัติ โดยสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริง มีการเชื่อมโยงกันระหว่างองค์ความรู้ที่มีอยู่กับการทำงานในภาคปฏิบัติ ส่วนหนึ่งก็เพื่อแก้ไขปัญหาองค์ความรู้แบบหอคอยงาช้าง ที่มีแต่องค์ความรู้หรือมีคุณค่าในเชิงทฤษฎี แต่ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงในภาคปฏิบัติ

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ด พัฒนาสู่มหาวิทยาลัยที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ตอนที่ 1/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com


ท่ามกลางสภาพวิกฤตทางเศรษฐกิจ วิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม การต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อโรค การปฏิรูปการศึกษา การเผชิญกับข้อบังคับทางการเงินใหม่ ๆ ในอนาคต ความขัดแย้งระหว่างประเทศ รวมถึงวิกฤตด้านคุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ ที่กำลังเกิดขึ้นและส่งผลกระทบไปทั่วโลกอยู่ในขณะนี้

ฮาร์วาร์ด พัฒนาสู่มหาวิทยาลัยที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ตอนที่ 2/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ผู้บริหารระดับสูงของฮาร์วาร์ด ได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาให้ฮาร์วาร์ดก้าวไปสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต” โดยตั้งอยู่บนรากฐานสำคัญของการพัฒนาความรู้ สติปัญญาและการเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวสู่สาธารณะชน

ฮาร์วาร์ด พัฒนาสู่มหาวิทยาลัยที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ตอนที่ 3/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ดังนั้น ฮาร์วาร์ดจึงแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อพร้อมรับสภาพความจำกัดทางทรัพยากร โดยที่ผ่านมาฮาร์วาร์ดดำเนินการผลักดัน ให้มีการทำงานข้ามคณะและประสานการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น สเต็มเซลล์ พันธุวิศวกรรมศาสตร์ ประสาทวิทยาศาสตร์ และชีววิศวกรรม เป็นต้น

ฮาร์วาร์ด พัฒนาสู่มหาวิทยาลัยที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ตอนที่ 4/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

นอกจากนั้น ฮาร์วาร์ดยังมุ่งมั่นปลูกฝังและพัฒนานักศึกษา ให้มีคุณธรรมและจริยธรรม ด้วยการสอดแทรกการสอนประเด็นคุณธรรมจริยธรรม เข้าไปเป็นสาระหลักของโปรแกรมการสอนในคณะต่าง ๆ ที่มุ่งพัฒนานักศึกษาที่จะจบออกไป มิได้มองเพียงแต่เฉพาะการสามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ ในสภาพวิกฤตเศรษฐกิจเท่านั้น แต่เป็นการปลูกฝังนักศึกษา ให้มีจิตสำนึกรับผิดชอบ ทั้งด้านการประกอบธุรกิจ และการเป็นผู้นำอย่างเป็นมืออาชีพ และมีคุณธรรมจริยธรรมร่วมด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ฮาร์วาร์ด ตัวแบบมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับสากล ตอนที่ 1/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยชั้นนำ อันดับ 1 ของโลก ติดกัน 4 ปีซ้อน มีการพัฒนาการจัดการศึกษาและการวิจัยที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก โดยการจัดเรียนการสอนและทำวิจัยของฮาร์วาร์ด ได้ก้าวข้ามพรมแดนทางด้านภูมิศาสตร์ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกของชุมชนฮาร์วาร์ด ขยายตัวไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอน การทำวิจัย การจัดกิจกรรมนอกหลักสูตร โครงการท่องเที่ยว โครงการแลกเปลี่ยน การจัดตั้งสมาคมศิษย์เก่าและสำนักงานต่าง ๆ ซึ่งในขณะเดียวกัน มีการเพิ่มจำนวนขึ้นของนักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนในฮาร์วาร์ดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งฮาร์วาร์ดมีลักษณะความเป็นมหาวิทยาลัยในระดับสากลชัดเจน ผ่านรูปแบบการดำเนินงานหรือการจัดกิจกรรมประเภทต่าง ๆ ที่ขยายไปทั่วโลก อาทิ

ฮาร์วาร์ด ตัวแบบมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับสากล ตอนที่ 2/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

นอกจากนี้แล้ว ฮาร์วาร์ดยังมีศูนย์วิจัยและวิทยาลัยต่าง ๆ ตั้งอยู่ใน 10 ประเทศทั่วโลก อาทิ ญี่ปุ่น รัสเซีย บราซิล เฉพาะในช่วงปี ค.ศ.2007 ถึง 2008 ที่ผ่านมา มีนักศึกษาจากวิทยาลัยฮาร์วาร์ดจำนวนมากถึง 1,372 คน เดินทางไปศึกษา ทำการวิจัย เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนและอื่น ๆ ใน 93 ประเทศทั่วโลก ขณะเดียวกันในฮาร์วาร์ดเอง ได้จัดให้มีหลักสูตรการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมนอกหลักสูตร และการทำวิจัยในประเด็นที่เป็นกระแสหรือกำลังเป็นที่สนใจระดับโลกอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดตั้งศูนย์หรือสำนักงาน เพื่อดำเนินการศึกษาในประเด็นเหล่านี้อย่างเป็นระบบ

ฮาร์วาร์ด ตัวแบบมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับสากล ตอนที่ 3/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

นอกจากนี้ ฮาร์วาร์ดยังมีองค์กรนักศึกษาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากถึง 100 องค์กร ซึ่งองค์กรเหล่านี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่นักศึกษาต่างชาติ ตลอดจนนักศึกษาที่มีความสนใจที่จะไปเรียน ทำงาน หรือเป็นอาสาสมัครในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

ฮาร์วาร์ด ตัวแบบมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับสากล ตอนที่ 4/4

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ประยุกต์สู่มหาวิทยาลัยไทย
ผมได้เสนอประเด็นการนำ “มหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก” ไว้เมื่อ 10 ปี ที่แล้ว ตั้งแต่ช่วงเริ่มปฏิรูปการศึกษาเมื่อ พ.ศ.2542 ซึ่งในช่วงเวลานั้น มีหลายคนไม่เห็นด้วยแนวคิดนี้ และให้ความเห็นว่าเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ แต่ผมยังยืนยันและพูดเรื่องนี้ พร้อมนำเสนอแนวทางในหลายเวที จนถึงปัจจุบัน
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...