วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

น้ำท่วมกับการให้ความช่วยเหลือจากรัฐที่เหมาะสม ตอนที่ 3/3

การให้ความช่วยเหลือโดยรัฐที่มีความยืดหยุ่น (Flexible Aid)

การกำหนดเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือที่เข้มงวดเกินไป ในบางครั้งอาจทำให้รัฐไม่สามารถช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการได้อย่างรวดเร็วเพียงพอ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ควรคุมจำเป็นต้องมีหลักการกฎเกณฑ์ที่แน่นอน แต่ในวิธีการนั้นต้องมีความยืดหยุ่น เช่นอาจมีการกำหนดกรอบการให้ความช่วยเหลือโดยรัฐชั่วคราวขึ้นเหมือนอย่างเช่นในกรณีของสหภาพยุโรป ที่กำหนดกรอบการให้ความช่วยเหลือโดยรัฐแบบชั่วคราวขึ้น เพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินทั้งหลาย ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินซับไพร์มและวิกฤติหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นที่ยุโรป เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

น้ำท่วมกับการให้ความช่วยเหลือจากรัฐที่เหมาะสม ตอนที่ 2/3

การให้ความช่วยเหลือโดยรัฐที่เจาะจงกลุ่มผู้รับมากขึ้น (Better Targeted Aid)

รัฐจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือให้ถูกกลุ่มเพื่อให้มั่นใจว่าการช่วยเหลือนั้น จะแก้ไขสามารถปัญหาความล้มเหลวของตลาดได้และไม่ทำให้เกิดการบิดเบือนกลไกตลาด หรือหากการช่วยเหลือของรัฐทำให้กลไกตลาดถูกบิดเบือน รัฐต้องมีการชดเชยที่เหมาะสม

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

น้ำท่วมกับการให้ความช่วยเหลือจากรัฐที่เหมาะสม ตอนที่ 1/3

ที่ผ่านมาผมได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับประเด็นที่ผมบรรยายเรื่อง “State Aid and Distortion in Competition Law and Policy” ในงาน “International conference on Competition Enforcement Challenges & Consumer Welfare in Developing Countries” ที่เมืองอิสลามาบัดประเทศปากีสถาน

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รองผู้ว่าฯ ตอนที่ 2

ประสานงานเป็นเลิศ
ลักษณะบุคลิกและสไตล์การทำงานของรองผู้ว่าฯ กทม. เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการทำงานประสบผลสำเร็จ ลักษณะสำคัญประการหนึ่งคือ การมีทักษะในการประสานงาน เพราะประเภทงอนของ กทม.มีความหลากหลาย ต้องร่วมดำเนินงานกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องในแต่ละปัญหา ดังนั้น รองผู้ว่าฯ กทม. ควรจะเป็นรองผู้ว่าฯ ยุคใหม่ โดยเป็นผู้นำในการประสานงาน มีบุคลิกที่ทำงานร่วมผู้อื่นได้ดี ทั้งนี้เพื่อให้สามารถกำหนดทิศทางการแก้ปัญหาและพัฒนากรุงเทพฯ ได้อย่างเป็นระบบและองค์รวม ไม่แยกกันทำและไม่ใช่กำหนดนโยบายของตัวเองแล้วไปบังคับให้หน่วยงานอื่นทำ

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รองผู้ว่าฯ ตอนที่ 1

มีความรู้และประสบการณ์
ผู้ที่จะเป็นรองผู้ว่าฯ กทม. นั้น ควรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์เป็นผู้มีความรู้ ความเชียวชาญ ในการทำงานลักษณะใกล้เคียงกับงานที่ต้องรับผิดชอบ เพราะหากไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานที่ต้องรับผิดชอบและบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ 30,000 ล้านบาท ผู้คนที่อยู่อาศัยในกรุงเทพเกือบ 10 ล้านคน ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ในเมืองอีกมากมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาได้อย่างถูกจุดและพัฒนาเมืองให้ดีขึ้นย่อมเป็นไปได้ยาก

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผู้ว่าฯ กทม. ที่พึงประสงค์ ตอนที่ 4

พร้อมเป็นผู้นำการพัฒนาขณะดำรงตำแหน่ง

เมื่อได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าฯ ต้องทำหน้าที่เป็นหัวเรือใหญ่ในการทำหน้าที่ “ผู้นำการพัฒนา” มิใช่เพียง “ผู้นำการบริการประชาชน” เท่านั้น เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ โดยดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ตามนโยบายที่ได้ให้คำมั่นสัญญากับประชาชนขณะหาเสียง จึงจำเป็นต้องเป็นผู้นำที่ทำหน้าที่ขจัดอุปสรรคและสามารถนำทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่มาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผู้ว่าฯ กทม. ที่พึงประสงค์ ตอนที่ 3

มีทีมงานที่มี “คุณภาพ” ไม่ใช่ “ตอบแทนคุณ”

ผู้ว่าฯ ไม่ได้บริหารกรุงเทพฯ เพียงลำพัง จำเป็นต้องทำงานเป็นทีม ดังนั้น ศักยภาพของทีมงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ และประชาชนควรรับทราบก่อนว่าใครจะเข้ามาดำรงตำแหน่งรองผู้ว่า 4 คน และตำแหน่งบริหารต่าง ๆ เคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งผ่านมาเรามักจะเห็นเฉพาะภาพ ผู้สมัครผู้ว่าฯ เท่านั้น ทำให้ประชาชนไม่รู้เลยว่าใครจะเป็นทีมบริหาร เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถเหมาะสมหรือไม่ หรือเป็นตำแหน่งตอบแทนคุณให้กับบุคคลหรือหัวคะแนนที่ช่วยหาเสียงให้

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผู้ว่าฯ กทม. ที่พึงประสงค์ ตอนที่ 2

มีความเป็น “ผู้นำ” ไม่ใช่ “ผู้ตาม”
บุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าฯ กทม. จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นคนที่มีภาวะผู้นำสูง มีบุคลิกผู้นำจริง ๆ ไม่ใช่ใครก็ได้ ไม่ใช่เป็นเพียงคนที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก คนที่มีความรู้มีประสบการณ์การทำงานมายาวนาน หรือคนที่มีบุคลิกหน้าตาดีกว่าคนอื่น ๆ เท่านั้นแต่ลักษณะความเป็นผู้นำต้องปรากฏอย่างเด่นชัด อาทิ มีความสามารถเชิงบริหาร มีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนได้ทุกประเภท เป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล มีความสามารถในการทำงานเป็นทีมนอกจากนี้ต้องเป็นคนที่เอาใจใส่ เอาจริงเอาจัง ทุ่มเทในการทำงาน เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผู้ว่าฯ กทม. ที่พึงประสงค์ ตอนที่ 1

พร้อมเป็นผู้ว่าฯ ตั้งแต่เป็นผู้สมัคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ควรมีลักษณะที่ประชาชนพึงประสงค์ตั้งแต่เป็นผู้สมัครผู้ว่าฯ เพื่อให้ประชาชนวินิจฉัยและคาดการณ์ได้ว่า เมื่อดำรงตำแหน่งแล้ว สามารถเข้ามาพัฒนากรุงเทพฯ ได้จริง โดยควรมีความพร้อมในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิสัยทัศน์การพัฒนากรุงเทพฯ

“กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองน่าอยู่ ด้วยการบริหารจัดการที่ดีและมีความร่วมมือจากทุกส่วนของภาครัฐ โดยชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่นและสงบสุข”

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การควบคุมและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

การพัฒนาและเติบโตของกรุงเทพมหานครในอดีตผูกพันกับน้ำเป็นอย่างมาก จนอาจกล่าวได้ว่าน้ำและคลองเป็นสิ่งกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและการพัฒนาเติบโตของกรุงเทพมหานคร ดังจะเห็นได้จากสมัยแรกเริ่มสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีมีการขุดคลองเป็นจำนวนมาก คลองที่ถูกขุดขึ้นเหล่านี้นอกจากเพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์แล้ว ยังเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก เป็นทางลำเลียงน้ำสู่การอุปโภคและบริโภคของประชาชน อีกทั้งยังเป็นที่รองรับและระบายน้ำเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยในฤดูที่มีน้ำมากอีกด้วย

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมยั่งยืน

ประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี ทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางวัฒนธรรม ทั้งสิ่งที่เคยรุ่งเรืองมาแต่อดีต ไม่ว่าศิลปะ ประเพณี ประวัติศาสตร์ โบราณคดีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาการความรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตลอดจนวัฒนธรรมและค่านิยมสมัยใหม่จากประเทศตะวันตกและประเทศที่พัฒนาแล้ว

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รายได้กับความสุข ตอนที่ 5/5

อย่างไรก็ดี ระดับความสุขยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย เพราะระดับความสุขของประเทศที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกลับไม่ได้มีทิศทางเดียว กันทั้งหมด ซึ่งสะท้อนว่าระดับความสุขของประชาชนในแต่ละประเทศยังได้รับอิทธิพลจาก ปัจจัยที่แตกต่างกันตามบริบทของแต่ละประเทศอีกด้วย

รายได้กับความสุข ตอนที่ 4/5

ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนผู้มีความสุข ผู้ตอบแบบสอบถามในเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่มีขนาดใหญ่และขยายตัวเร็วมีสัดส่วนผู้ ที่ตอบว่า “มีความสุขมาก” สูงขึ้น เช่น ตุรกี เม็กซิโก อินเดีย เป็นต้น แต่ในบางประเทศ ประชาชนที่ตอบว่ามีความสุขมีสัดส่วนที่ลดลง เช่น อินโดนีเซีย บราซิล รัสเซีย เป็นต้น เช่นเดียวกับคนในประเทศร่ำรวยไม่ได้มองแง่ลบเป็นเหมือนกันทั้งหมด เช่น ผู้ตอบแบบสอบถามในญี่ปุ่นที่มีความสุขมีจำนวนมากขึ้น แม้ต้องประสบกับภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์สึนามิและวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

รายได้กับความสุข ตอนที่ 3/5

รูปแบบของความสัมพันธ์ตามทฤษฎีดังกล่าว สะท้อนว่าความสุขของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาหรือมีรายได้ต่อหัวต่ำมีความ สัมพันธ์กับรายได้มากกว่าความสุขของประชาชนในประเทศที่ร่ำรวย หรือสามารถอธิบายได้ว่า คนยากจนจะมีพึงพอใจหรือความสุขเพิ่มขึ้นมากเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น แต่คนร่ำรวยจะมีความสุขเพิ่มขึ้นน้อยเมื่อรายได้เพิ่มขึ้นในระดับเดียวกัน กับคนยากจน

รายได้กับความสุข ตอนที่ 2/5

ข้อถกเถียงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และความสุขอาจแบ่งได้เป็น 2 แนวคิดที่ขัดแย้งกัน คือ ระดับความสุขของประชาชนจะเพิ่มขึ้นตามระดับรายได้ แต่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการวัด GDP ถกเถียงว่า ความร่ำรวยที่เพิ่มขึ้นทำให้ความสุขของประชาชนเพิ่มขึ้นน้อยมาก และมองว่าความพยายามทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย

รายได้กับความสุข ตอนที่ 1/5

การวัดความก้าวหน้าของการพัฒนาของประเทศ โดยใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP เป็นประเด็นที่ได้รับการถกเถียงมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในประเด็นที่ความเจริญทางเศรษฐกิจไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงของการพัฒนาประเทศ รวมทั้งมีข้อเสนอให้มีการวัดความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness) แทนการวัด GDP ซึ่งรัฐบาลของบางประเทศได้มีการจัดตั้งโครงการศึกษา “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness) เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ชุมชนเข้มแข็ง

ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีชุมชนประเภทต่าง ๆ จำนวน 1,604 ชุมชนแบ่งเป็นชุมชนแออัด 796 แห่ง หมู่บ้านจัดสรร 243 แห่ง ชุมชนชานเมือง 327 แห่ง ชุมชนเมือง 168 แห่ง และเคหะชุมชน 70 แห่ง ในอดีตที่ผ่านมา ชุมชนเหล่านี้ยังขาดการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา เนื่องจากการพัฒนาที่ผ่านมามีลักษณะดำเนินนโยบายจากหน่วยงานภาครัฐและกรุงเทพมหานคร ประชาชนเป็นผู้เรียกร้องมากกว่าผู้ร่วมลงมือพัฒนา ชุมชนยังขาดการตระหนักและเห็นผลประโยชน์ของการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม อย่างไรก็ตาม ทางกรุงเทพมหานครได้เริ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีองค์กรชุมชนเป็นแกนนำ

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กรุงเทพฯ สีเขียว

จากสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ กรุงเทพมหานครไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ได้พยายามหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสภาพแวดล้อมของเมืองให้น่าอยู่ ขึ้นอยู่เสมอ การดำเนินการหลายอย่างได้มีส่วนช่วยให้สภาพแวดล้อมด้านต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ เริ่มมีความสดใสกว่าเดิม

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัญหาพื้นที่สีเขียวลดลง

ในอดีตกรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวเป็นจำนวนมากเนื่องจากเป็นบริเวณที่ทำการเกษตรเป็นหลัก ต่อมาเมื่อความเป็นเมืองกระจายออกไปมากขึ้น พื้นที่เกษตรเดิมจึงถูกเปลี่ยนเป็นเป็นสิ่งก่อสร้างชนิดต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว แต่การพัฒนาบ้านเมืองกลับขาดการควบคุมโดยผังเมืองที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้พื้นที่แถบชานเมือง ทั้งพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่รองรับน้ำ กลายมาเป็นพื้นที่เมืองอย่างรวดเร็วโดยไม่สัมพันธ์กับการพัฒนาด้านอื่น ๆ เช่น ถนน สาธารณูปโภค สาธารณูปการต่าง ๆ

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาความแออัดของประชากร



กว่าสี่สิบปีที่เกิดการอพยพของคนชนบทเข้ามาสู่กรุงเทพฯอย่างต่อเนื่อง ด้วยเป้าหมายที่แตกต่างกัน อาทิ เพื่อหางานทำ เพื่อศึกษาเล่าเรียน เพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ สถิติการย้ายถิ่นในช่วง ปี พ.ศ. 2508 – 2513 มีไม่เกิน 20,000 คนต่อปี และเริ่มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ มากว่า 90,000 คนต่อปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทบทวนปัญหาจากการพัฒนากรุงเทพฯ



การปกครองประเทศโดยการรวมศูนย์อำนาจการตัดสินใจไว้ที่ส่วนกลาง ทำให้ส่วนอื่นๆ ของประเทศไม่สามารถวางแผนการพัฒนาเมืองของตนได้อย่างอิสระ กรุงเทพฯ จึงเป็นเมืองที่เติบโตในลักษณะเมืองอเนกนคร (Primate city) โดยไม่มีการแข่งขันจากเมืองอื่นๆ ของประเทศมาเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ช่องว่างการกระจายรายได้และความเจริญระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดอื่นๆ ห่างกันมากขึ้น กรุงเทพฯ จึงกลายเป็น “แผ่นดินทอง” ที่มีอิทธิพลดึงดูดให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นจากชนบทเข้าสู่เมือง ประชาขนจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศหลั่งไหลเข้าสู่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สภาพกรุงเทพฯ เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งขนาดพื้นที่ และจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เค. พี. ไอ.

     
เค. พี. ไอ. ย่อมาจาก Key Performance Indicator (KPI) ซึ่งหมายถึง ดัชนีชี้วัดสำคัญสำหรับตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน อันเป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบและดำเนินงานขององค์การหรือโครงการต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมและวัดได้ในเชิงปริมาณ ผมเชื่อว่า ด้วยการที่ท่านได้รับการหล่อหลอมจากการศึกษาและ ประสบการณ์ทำงานในแวดวงวิศวกรรมศาสตร์ ทำให้ท่านเป็นคนที่มีความปรารถนาเห็นสิ่งต่างๆ มีความชัดเจนไม่คลุมเครือมีโครงสร้างกลไกที่เป็นระเบียบ เป็นตัวเลข วัดได้ แม้ในสิ่งที่คนทั่วไปคิดว่าวัดไม่ได้

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

มิตรภาพ

   
"มิตรภาพ" สิ่งที่มีค่าสูงสุดประการหนึ่งที่ผมสะสมไว้ไม่ว่าเมื่อใดก็ตาม ถ้าผมได้มีโอกาสรู้จัก พูดคุย ได้ร่วมเรียน ได้ร่วมทำงาน ได้ร่วมกิจกรรม ไม่ว่ากับบุคคลใด ผมจะพยายามอย่างยิ่งในการรักษา "มิตรภาพ" อันมีค่านี้ไว้ให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน แม้ว่ามีความยากลำบากอยู่บ้าง เพราะต่างต้องแยกย้ายกันไปตามวาระของตน

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ข้อเสนอนโยบายอุตสาหกรรมและแรงงาน ภายหลังการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท

เมื่อวันที่ 1 เมษายนเป็นวันแรกของการบังคับใช้มาตรการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันในจังหวัดนำร่อง ซึ่งมาตรการนี้ได้ถูกคัดค้านว่าจะทำให้สถานประกอบการจำนวนมากไม่สามารถอยู่ รอดได้ แต่รัฐบาลก็ได้โต้แย้งว่าผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับตัวรับกับภาวะต้นทุนที่ เพิ่มสูงขึ้น ข้อโต้แย้งดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศ

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

การสร้างแบรนด์ประเทศ


การ สร้างแบรนด์ให้กับประเทศไม่ใช่เรื่องใหม่ แนวคิดเรื่องการสร้างแบรนด์ให้ประเทศ (‘’Nation as a brand’’) เกิดขึ้นประมาณปี ค.ศ.2000 ซึ่งการที่โลกมีความเป็นโลกาภิวัตน์มากขึ้นในทุกด้านทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม และยังมีแนวโน้มจะเป็นโลกาภิวัตน์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ดังเห็นได้จากรายงาน KOF Index of Globalization ปี 2010 ซึ่งรวบรวมข้อมูล 208 ประเทศ ตั้งแต่ปี 1970 – 2007 พบว่า โลกมีความเป็นโลกาภิวัตน์มากขึ้น) ปัจจัยนี้มีส่วนทำให้ปัจจุบันหลายประเทศในโลกหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องการ สร้างแบรนมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

สวัสดีปีใหม่ไทย 2555

เนื่องในวันสงกรานต์ ดร.แดน ขออวยพร เพื่อนๆ มิตรสหาย และทุกท่าน
ให้มีความสุข ในวันสงกรานต์


วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

เราต้องเคารพกฎระเบียบ

        นิสัยคนไทยมักจะเห็นกฎระเบียบบ้านเมือง กฎระเบียบบริษัท กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่วางไว้ว่าเป็นเหมือนกับสิ่งกีดขวางที่ต้องหลีกเลี่ยง ใครที่หลีกเลี่ยงได้จะรูสึกว่าภาคภูมิใจที่ได้ทำตามความพอใจของตนเอง การที่เราไม่มีวินัยในการทำตามกฎเกณฑ์ที่ได้วางไว้จะทำให้เกิดความสับสน วุ่นวายเพราะถ้าเราไม่เคารพกฎหมายบ้านเมือง การก่ออาชญากรรมย่อมจะมากยิ่งขึ้น ถ้าเราหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีบ้านเมือง ย่อมจะไม่มีเงินมาทำนุบำรุงประเทศ หากเราไปทำงานสาย บริษัทก็จะต้องสูญเสียผลประโยชน์ หรือแม้กระทั่ง หากเราข้ามถนนโดยไม่ใช้สะพานลอยหรือทางม้าลาย อาจทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตอย่างที่ไม่น่าจะเกิดได้

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

"ความยุติธรรม" นิสัยที่ต้องมีการสร้าง

          เพราะเหตุแห่งความลำเอียงนี้เอง ทำให้ในหลายๆ ครั้งดำเนินชีวิตที่ผิดพลาดและล้มเหลว เป็นเหตุให้เกิดการทำลายตนเอง และผู้อื่นอย่างที่เราคาดไม่ถึง ความลำเอียงนี้เกิดขึ้นในทุกระดับของสังคม ยกตัวอย่างเช่น ในระดับครอบครัว บางครอบครัวพ่อแม่ลำเอียงรักลูกไม่เท่ากัน ลูกคนใดที่เรียนดีจะเป็นที่ชื่นชอบของครอบครัวมากกว่าลูกที่เรียนไม่ดี ทำให้เกิดการเปรียบเทียบ พ่อแม่บางคนดูถูกดูแคลนลูก เป็นเหตุให้เด็กเกิดปมด้อยขึ้น เด็กจะรู้สึกขาดความมั่นใจในตัวเอง รู้สึกว่าไม่ได้รับการยอมรับ กลายเป็นเด็กมีปัญหา อาจถึงขนาดฆ่าตัวตาย หรือในบางสังคมจะให้คุณค่าเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง ทำให้เด็กนั้นถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับความรักความยุติธรรมจากพ่อแม่ แทนที่เด็กนั้นจะเติบโตมีคุณภาพในสังคม ก็กลับกลายเป็นหมดโอกาส และถูกรังเกียจไปตลอดชีวิต หรือในระดับประเทศ ถ้าผู้นำไม่มีความยุติธรรม แต่ลำเอียงเอื้อประโยชน์เฉพาะแก่กลุ่มชนที่เหมือนตนเอง และเอารัดเอาเปรียบคนที่แตกต่างจากตนเอง ประเทศชาติอาจจะล่มจมได้

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

i-genius Asia Summit on Social Entrepreneurship

Is Asia Up to the Challenge? Bangkok, Thailand. 1-2 March 2012

i-genius held an Asia Summit on social entrepreneurship hosted at the magnificent Banyan Tree, Bangkok on 1st – 2nd March, 2012. Under the theme, “Is Asia up to the challenge?” the i-genius Asia Summit examined the potential for social entrepreneurship in the fastest growing region in the world and explored how it can be raised to a even higher level over the coming decade.

เก็บตกวันนำเสนอวิสัยทัศน์อธิการบดี ต่อกรรมการฯ และประชาคมศิลปากร

-- 2 มีนาคม


สนุกคิด วิทย์วันเด็ก 2555

หน้าเวทีใหญ่ ในงานวันเด็ก ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ และ
(ซ้าย) นายสุรนันท์ ศุภวรรณกิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
(ขวา) นางตติยา ใจบุญ นักวิชาการศึกษา ชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

— ที่ท้องฟ้าจำลอง 14 มกราคม 2555


ก่อนเปิดบูธกองทุนเวลาเพื่อสังคม เพื่อเด็ก ๆ ที่มาร่วมสนุกในงานวันเด็ก มีน้อง ๆ อาสาสมัครทยอยมาร่วมงาน

— ที่ท้องฟ้าจำลอง 14 มกราคม 2555

ยอมรับพฤติกรรมที่เป็นจริงและแก้ไขตนเอง

               พฤติกรรมอย่างหนึ่งที่สะท้อนว่าเราไม่สามารถเอาชนะความอ่อนแอในการบังคับและควบคุมตนเองได้ นั่นคือ เรามักจะ "โยน" ความผิดที่เกิดขึ้นให้กับคนอื่น หรือโยนมันให้กับสถาณการณ์รอบข้างโดยที่ไม่เคยกล่าวว่าตนเองผิดเลย
               พฤติกรรมเช่นนี้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเรียนรู้ที่จะบังคับและควบคุมตนเองเป็นอย่างมาก ทางออกคือเราต้องไม่โทษผู้อื่น ต้องตระหนักว่า การโทษผู้อื่นไม่ได้ช่วยทำให้เราเห็นข้อบกพร่องของตนเอง

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

คิดให้ทะลุปรุโปร่ง

     นักคิดวิเคราะห์จะเป็นคนที่ไม่ชอบความคลุมเครือ ชอบเห็นอะไรแล้วเข้าใจว่าเป็นอะไร ไม่หลงเชื่อหรือคล้อยตามเรื่องใดๆ อย่างง่ายๆ โดยไม่มีเห็นผล แต่จะพยายามคิดให้ทะลุปรุโปร่ง คิดให้เห็นความกระจ่างถ่องแท้ คิดในประเด็นที่จะคิดอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

หลักสูตรการนำเสนออย่างมืออาชีพ และเทคนิคการพูดในที่สาธารณะ


ศิลปะการนำเสนอและการสื่อสารด้วยการพูดเป็นสิ่งที่ส่งเสริมบุคลิกภาพสำหรับผู้บริหารในทุกระดับ เป็นสิ่งสำคัญที่มักถูกใช้อยู่เสมอในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอต่อที่ชุมชน การพูดเพื่อจูงใจผู้บังคับบัญชา หรือผู้ใต้บังคับบัญชา แม้กระทั้งการพูดในโอกาสต่างๆ ในการเข้าสังคม การนำเสนอในแต่ละครั้งจะทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจหรือไม่ ? ขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อม การฝึกฝน และการมีผู้แนะนำ (Coach) ซึ่งจะทำให้ผู้นำเสนอได้รับการพัฒนาทักษะของตนให้ดียิ่งขึ้น หากว่าผู้บริหารเป็นผู้ที่มีศิลปะในการพูดและการนำเสนออย่างมีชั้นเชิง ควบคู่กับมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมส่งเสริมให้บุคคลนั้นเป็นผู้ที่โดดเด่นยิ่งกว่าผู้อื่น ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเจริญก้าวหน้าในบทบาทหน้าที่การทำ งานและเสริมสร้างองค์กรให้เจริญรุ่งเรือง

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

เริ่มต้นด้วยการมีเป้าหมายและมีสติปัญญา

    การขาดความตระหนัก หรือสามัญสำนึกแห่งเป้าหมายความสำเร็จนั้น เป็นตัวแปรที่สำคัญ ที่ทำให้เราตัดสินใจตามอารมณ์และทิ้งเหตุผลไปได้อย่างง่ายๆ การปล่อยให้อารมณ์ความรู้สึกนำหน้า และการให้อารมณ์เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม นับเป็นการแสดงออกของผู้ที่ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีจุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิต จึงปล่อยชีวิตให้ดำเนินไปโดยขึ้นอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกและสถานการณ์ในขณะนั้นเป็นหลัก เช่น อยากนอนตอนไหนก็นอน อยากทานอาหารตอนไหนก็ทาน ไม่พอใจอะไรนิดหน่อยก็ตัดสินใจได้ถึงขนาด "ตายเป็นตาย" ทีเดียว

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

ตั้งสติก่อน ค่อยคิดแก้ไข

  การแก้ปัญหาควรเริ่มต้นด้วยการดึงตนเองออกจากภาวะอารมณ์ของความรู้สึกกดดัน ความเครียด ความผิดหวัง จากการถูกปฏิเสธ การไม่สนใจของหัวหน้างาน โดยพยายามพาตัวเองออกมาอยู่เหนือปัญหาที่เกิดขึ้นก่อน การพาตัวเองออกจากอารมณ์ขณะนั้น จะช่วยให้เราได้ตั้งสติคิดทบทวน มีโอกาสพิจารณาด้วยเหตุผลอย่างรอบคอบ และย่อมช่วยนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาที่น่าพึงพอใจมากกว่า 

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

การพินิจใคร่ครวญ

     การพินิจใคร่ครวญ ... เป็นจุดเริ่มต้นของการคิดเชิงวิเคราะห์เป็นก้าวแรกที่เราเริ่มเดินจากจุดความสงสัยสู่การนำสิ่งนั้นมาพิจารณาใคร่ครวญ เพื่อหาคำอธิบายว่าสิ่งนั้นคืออะไร ประกอบด้วยอะไรมีความเป็นมาอย่างไร เกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง โดยพยายามมองให้เห็น...เช่นที่มันเป็นอยู่
     นี่คือ ก้าวแรกของการพัฒนาตนเองให้เป็นนักคิดเชิงวิเคราะห์ที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รับผิดชอบงานอย่างดีเลิศ ลักษณะชีวิตสู่ความสำเร็จ

รับผิดชอบงานอย่างดีเลิศ ไม่เป็นคนเกียจคร้านในการทำงาน แต่เป็นคนหนักเอาเบาสู้ รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างดีที่สุด และเอาจริงเอาจังในการทำงาน ไม่ว่างานชิ้นนั้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม หากงานไม่เสร็จจะไม่เลิกราเด็ดขาด จนเป็นที่กล่าวถึงว่า หากมอบหมายให้คนนี้รับผิดชอบ งานชิ้นนั้นไว้ใจได้ และงานจะออกมาอย่างสมบูรณ์ที่สุด

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ผู้นำศาสนา และผู้นำการเมือง

คนดี ควรถูกจำกัดสิทธิทางการเมืองหรือไม่?

รัฐธรรมนูญทุกฉบับต่อเนื่องมาจนกระทั่งฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2550) มีมาตราหนึ่งที่บัญญัติว่า ห้ามพระภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช มิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.๒๕๕๐
“มาตรา ๑๐๐ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
(๑) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช”

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ อวยพรวันขึ้นปีใหม่จีน 2555

ซินเจีย ยู่อี่ ซินนี้ ฮวดไช้
ขอพรให้ มั่งคั่ง ทั้งสุขขี
ให้การค้า ก้าวรุก สุขภาพดี
พร้อมพรั่งมี บริวาร เบิกบานใจ

ด้วยความปรารถนาดี และจริงใจ
ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

ดร.แดน ขอบคุณเพื่อน

ผมขอขอบคุณสำหรับคำกลอนอวยพรปีใหม่ จากคุณ "สมาพล พิลาธิวัฒน์" ที่ส่งมาให้ ผมได้รับเรียบร้อยแล้ว ขอบคุณมากครับ

และในโอกาสนี้ ขอขอบคุณทุกคำอวยพรทั้งทางข้อความโทรศัพท์ ข้อความในเฟสบุค ทางอีเมล์ และอื่น ๆ ผมซาบซึ้งใจในมิตรภาพและขอทุกคำอวยพรย้อนคืนสู่ผู้มอบให้ทุกท่านให้มีแต่ความเจริญก้าวหน้า ประสบความสำเร็จในกิจการงาน สุขภาพแข็งแรงครับ

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยแห่งความประทับใจ ตอนที่ 4/4

มหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งของไทย แม้ว่าเมื่อหลายสิบปีก่อนจะอยู่ในสภาพเมืองมหาวิทยาลัย สงบร่มรื่น สมกับเป็นแหล่งเรียนรู้ แต่มหาวิทยาลัยกลับเป็นสิ่งที่ดึงดูดความเจริญ ผู้คนหลั่งใหลเข้ามาตั้งบ้านเรือน หอพักนักศึกษา ตลาด ร้านค้า รวมไปถึงแหล่งบันเทิงดึงดูดวัยรุ่นมากมาย จนกลายเป็นชุมชนเมืองที่แออัด จอแจไปด้วยผู้คน และจราจรที่ติดขัด

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยแห่งความประทับใจ ตอนที่ 3/4

ที่พักของผมเช่นกัน ไม่ต่างจากที่พักตากอากาศ ผมพักอยู่ชั้น 17 ของอาคารที่พักอาศัยที่จัดไว้สำหรับบุคลากรของฮาร์วาร์ด เมื่อมองออกนอกหน้าต่าง จะเห็นแม่น้ำชารล์ส (Charles) และมองเห็นบริเวณและอาคารของ Harvard Business School และอีกมุมหนึ่งจะเห็นวิวทิวทัศน์ที่งดงามของเมืองCambridge ผมชอบที่จะออกมานั่งอ่านหนังสือริมระเบียงในช่วงเวลาที่อากาศไม่หนาวจัด

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยแห่งความประทับใจ ตอนที่ 2/4

ผมรู้สึกว่า ได้รับการเชิญชวนให้ใช้เวลาทำสิ่งที่สำคัญที่สุด เมื่ออยู่ในสถานที่แห่งนี้ ซึ่งองค์ประกอบต่าง ๆ ล้วนเอื้อให้สามารถแสวงหาความรู้ได้อย่างไม่มีอุปสรรค

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยแห่งความประทับใจ ตอนที่ 1/4

หลังจากการประกาศยุบสภาฯ ของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ปี 2549 สักพักหนึ่ง ผมตอบรับการเชิญจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้ดำรงตำแหน่งเป็นนักวิชาการอาวุโส (Senior Fellow) ของศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และได้ใช้เวลาบรรยายและทำการวิจัยและแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่นี่ จึงทำให้ต้องเดินทางไปมาระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาอยู่เสมอ

ศักดิ์ศรีของหัวหน้างาน และการประเมินผลอย่างยุติธรรม

ยึดมั่นศักดิ์ศรี “หัวหน้า” ต้องตระหนักและเห็นคุณค่าของตำแหน่งที่ผู้บริหารให้ความไว้วางใจ มอบหมายให้เราทำ การเป็นหัวหน้าเป็นเหมือนสิทธิพิเศษ ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด สิ่งหนึ่งนั่นคือ การยึดมั่นในความยุติธรรม ไม่บิดเบือนด้วยอคติหรือความลำเอียงในใจ ในการประเมินต้องมีความเป็นธรรมต่อผู้ร่วมงานทุกคน แม้ว่า เมื่อประเมินแล้ว อาจทำให้บางคนไม่พอใจ หรือเราอาจไม่ต้องการให้เป็นบ้าง แต่ให้ภูมิใจว่าเราได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

หัวหน้างานกับการประเมินผลแบบเกรงใจ

ประเมินแบบเกรงใจ หัวหน้างานบางรายไม่กล้าประเมินตามความเป็นจริง ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าลูกน้องบางคนทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ผิดพลาดบ่อย เนื่องจากกลัวว่าจะเสียความสัมพันธ์ระหว่างกัน เกรงว่าลูกน้องจะไม่พอใจ และจะยิ่งไม่ให้ความร่วมมือในการทำงาน จึงต้องประเมินให้เท่าเทียมกัน ทั้งคนที่ทำงานดีและทำงานไม่ค่อยดี

ใช้หนังสือให้เป็น…ลูกเก่งและฉลาด ช่วงที่ 1

…“หนังสือมีไว้สำหรับอ่าน ไม่ได้มีไว้ให้ขีดเขียนหรือทำสกปรกเลอะเทอะ ดังนั้น ต้องใช้อย่างทะนุถนอม อ่านเสร็จก็เก็บให้เรียบร้อย”
…“ถ้าต้องการเน้นข้อความสำคัญ อนุญาตให้ขีดเส้นใต้เพียงอย่างเดียว และทำได้เฉพาะหนังสือของเราเองเท่านั้น”

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

หากมองหัวหน้าเป็น “เด็กเมื่อวานซืน”

กอบกิจ มีความคิดว่า “คำสั่ง คำแนะนำของหัวหน้า ไม่ต้องทำตามก็ได้ เราอยู่มานานกว่า รู้ดีกว่า เจ้าของบริษัทเชื่อมั่นในตัวเรามากกว่า”

กอบกิจ มักเรียกหัวหน้าของเขาว่า “เด็กเมื่อวานซืน” เสมอ

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

ตลาดแรงงานไทยในอนาคต

ปัจจุบันไทยมีความต้องการแรงงานระดับอาชีวศึกษาอย่างมาก จากผลการศึกษาความต้องการกำลังคนของกลุ่มอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาพบว่า กลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขาดแคลนกำลังคนระดับกลางหรือระดับปฏิบัติการค่อนข้างมาก โดยเฉพาะผู้จบระดับ ปวช. และ ปวส. ซึ่งกว่าร้อยละ 75 ของผู้จบการศึกษาระดับนี้ เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี นอกจากนั้น ผู้จบการศึกษาใหม่ ยังไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตรงลักษณะงาน โดยสถานประกอบการส่วนใหญ่ ต้องฝึกอบรมต่ออีกอย่างน้อย 3-6 เดือน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาเพิ่มมากขึ้น
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...